นวัตกรรมสารสกัดจากเงาะพันธุ์สีชมพูสำหรับเครื่องสำอาง
นักวิจัย  
รองศาสตราจารย์ ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 15086
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เงาะพันธุ์สีชมพู (Nephelium lappaceum Linn. ) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจากอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากเงาะพันธุ์นี้มีลูกเล็ก หวานน้อย และบอบช้ำง่ายกว่าเงาะพันธุ์โรงเรียน จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการปลูกเพื่อจำหน่าย และได้มีการรื้อถอนเพื่อปลูกผลไม้ชนิดอื่นที่เป็นที่นิยมมากกว่า จึงทำให้เงาะพันธุ์สีชมพูกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หากไม่ได้รับการอนุรักษ์ ซึ่งผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเงาะพันธุ์สีชมพูที่สกัดด้วยเอทานอล มีฤทธิ์สูงสุด (SC50 เท่ากับ 0.006±0.01 mg/ml) และมีฤทธิ์มากกว่าสารละลายวิตามินซี 5 เท่า นอกจากนี้ยังมีการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส จากผลการทดลอง พบว่า สารสกัดเงาะพันธุ์สีชมพูที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งดีที่สุด (IC50 เท่ากับ 0.04±0.02 mg/ml) มีฤทธิ์เทียบเท่ากับสารละลายกรดโคจิกที่ระดับนัยสำคัญ p < 0.05 และจากการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของสารสกัด พบว่า สารสกัดเงาะพันธุ์สีชมพู ที่ความเข้มข้นต่ำกว่า 0.1 mg/ml แสดงความมีชีวิตรอดของเซลล์ผิวหนังมากกว่าร้อยละ 80 แสดงถึงไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนัง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทางผิวหนังได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- สารสกัดจากเงาะพันธุ์สีชมพูมีฤทธิ์ยับยั้งเม็ดสีเมลานินได้ถึง 38%
- มีฤทธิ์กระตุ้นคอลลาเจน 7%
- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณภูชิษา รัตนศีล (กรุณาติดต่อในวันและเวลาราชการ)
โทรศัพท์ 025494493
Email phushisa_r@rmutt.ac.th
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมสารสกัดจากเงาะพันธุ์สีชมพูสำหรับเครื่องสำอาง"