การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเยื่อจากเศษไผ่ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์คงรูป
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้ว
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเยื่อจากเศษไผ่ ลดการใช้สารเคมีและพลังงานด้วยการปรับสภาพวัตถุดิบและเยื่อด้วยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำเพื่อผลิตเยื่อใยยาวหรือเส้นใยที่สามารถนำมาใช้ในงานเยื่อกระดาษและบรรจุภัณฑ์ได้ทั้งในรูปแบบเยื่อผสมหรือใช้ทดแทนเยื่อไม้หรือเยื่อชานอ้อยที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ขยะเศษไผ่โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์เยื่อคงรูปที่แข็งแรง ลดต้นทุน ลดการนำเข้าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศช่วยให้พึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ BGC ซึงเป็นโครงการที่ได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจากแผนงานยกระดับเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม (Technology to Industry Convergence) อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ปี 2566
ต้นแบบบรรจุภัณฑ์อาหารทำมาจากเยื่อจากเศษไผ่และเยื่อผสมที่ได้จากเทคโนโลยีการผลิตเยื่อจากเศษไผ่ด้วยวิธีการทางเคมีและวิธีการทางเคมีร่วมกับการปรับสภาพวัตถุดิบด้วยการระเบิดไอน้ำที่ลดการใช้สารเคมีและพลังงาน เยื่อเศษไผ่ที่เตรียมได้สามารถปรับปรุงเพื่อใช้งานเป็นบรรจุภั
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- สามารถใช้งานเป็นบรรจุภัณฑ์เยื่อคงรูปสำหรับอาหารแห้งได้
- ต้นแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร ทนน้ำและน้ำมันร้อนได้โดยไม่เกิดการเสียรูปทรงขณะใช้งาน
- สามารถประยุกต์ใช้กรรมวิธีผลิตเยื่อจากเศษไผ่และเยื่อผสมในการขยายขนาดการผลิตเยื่อในระดับอุตสาหกรรมได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นายวินัย เชอมือ
โทรศัพท์ 053917014
โทรศัพท์มือถือ 053917182
Email ip.mfii@mfu.ac.th
ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเยื่อจากเศษไผ่ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์คงรูป"