กรรมวิธีการผลิตแผ่นพืชคลุมดินและเพิ่มธาตุอาหารจากต้นฟักทองและปอเทือง
นักวิจัย  
ผศ.ดร.เกียรติสุดา สมนา
ผศ.ดร.วิชุดา กล้าเวช
ผศ.ดร.รัฐพล สมนา
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการเพาะปลูกทั้งพืชไร่และพืชสวน รวมถึงการปลูกผักสวนครัวเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ในการปลูกพืชจำเป็นต้องมีการควบคุมวัชพืชที่ขึ้นมาพร้อมกับพืชและส่งผลกระทบต่อพืชหลักจากการแย่งน้ำและอาหาร มีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดและควบคุมวัชพืช เช่น พาราควอต ไกลโฟเซท ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิต คุณภาพของดินและเกษตรกรผู้ปลูกพืช และในกลุ่มที่ไม่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช จะใช้เทคนิคและภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การใช้วัสดุคลุมดิน การปลูกพืชคลุมดิน การใช้ถุงพลาสติกคลุมดิน แต่พบว่า การใช้วัสดุคลุมดินและการปลูกพืชคลุมดิน ยังทำให้แสงลอดผ่านบางส่วนทำให้วัชพืชสามารถขึ้นได้ สำหรับการใช้ถุงพลาสติกคลุมดินทำให้เกิดปัญหาพลาสติกตกค้างในแปลงปลูกพืช จากปัญหาดังกล่าว นักวิจัยสนใจในการผลิตเป็นแผ่นพืชคลุมดินเพื่อลดปัญหาการขึ้นของวัชพืชและลดปริมาณของพลาสติกตกค้างในดิน โดยแผ่นพืชคลุมดินผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ ต้นฟักทอง และมีการบดปอเทืองใส่ลงในแผ่นพืชเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน ให้สำหรับควบคุมการขึ้นของวัชพืชให้กับแปลงผักสวนครัว สนับสนุนการเกษตรปลอดภัย ลดการใช้สารเคมีและมีวัสดุคลุมดิน
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แผ่นพืชคลุมดินจากฟักทองและปอเทืองมีความสามารถในการควบคุมวัชพืชในแปลงผักสวนครัวได้ร้อยละ 50 ในเวลา 40 วัน มีธาตุอาหารโพแทสเซียมในระดับสูง (91-120 มก./กก.)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.วิชุดา กล้าเวช
โทรศัพท์ 044233000 ต่อ 5101
โทรศัพท์มือถือ -
Email unisearch.rmuti@gmail.com
สถาบันบริการวิชาการ มทร.อีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการผลิตแผ่นพืชคลุมดินและเพิ่มธาตุอาหารจากต้นฟักทองและปอเทือง"