อุปกรณ์เสริมเตียงผู้ป่วยสำหรับช่วยพลิกตัวอัตโนมัติ
นักวิจัย  
นายณรงค์รัตน์ สวัสติกานนท์
รศ.ดร.ระดม พงษ์วุฒิธรรม
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 15444
สิทธิบัตร เลขที่ 89569
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 302000775 ยื่นคำขอวันที่ 14 ธันวาคม 2566
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การป้องกันแผลกดทับแต่เดิมใช้แรงงานคนเปลี่ยนท่านอนด้วยการพลิกตัว ในบางครั้งการใช้คนพลิกตัวเกิดการลืมพลิก และมีอาการล้า ทำให้เกิดแผลกดทับจากการนอน ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ซึ่งจะเกิดค่าใช้จ่ายสูงในการรักษา (ไทย 55,000 บาท/แผล*, อเมริกา 26.8 พันล้านเหรียญ/ปี #) ซึ่งปัจจุบันมีเตียงที่สามารถตั้งโปรแกรมพลิกตัว แต่มีราคาแพง และต้องเปลี่ยนใช้เตียงของใหม่ทั้งหมด ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
อุปกรณ์เสริมเตียงผู้ป่วยสำหรับช่วยพลิกตัวอัตโนมัติ สามารถตั้งเวลาและเลือกท่านอนได้ โดยทดแทนการพลิกตัวจากแรงงานคน และมีความแม่นยำ เที่ยงตรงตามระยะเวลาที่ตั้งไว้ ลดการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงและไม่สามารถพลิกตัวเองได้ มีมาตรฐานรองรับ Thai FDA, IEC60601-1, IEC60601-1-2, ISO 13485
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
โทรศัพท์ 053-942641
โทรศัพท์มือถือ 098-7463388
Email tloubi.cmu@gmail.com, tlocmu.ip2@hotmail.com
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์เสริมเตียงผู้ป่วยสำหรับช่วยพลิกตัวอัตโนมัติ"