![]() |
||||||
นักวิจัย
ว่าที่ร้อยตรี ดร.นพดล สิทธิพล
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2301006226 ยื่นคำขอวันที่ 27 กันยายน 2566
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
แผงโซลาร์เซลล์ที่มีน้ำหนักเบาจะช่วยลดข้อจำกัดในการติดตั้ง และเพิ่มรูปแบบการประยุกต์ใช้งานโซลาร์เซลล์ได้ อย่างไรก็ตามน้ำหนักที่เบาขึ้น แลกมาด้วยความแข็งแรงทนทานของแผงที่ลดลง โครงสร้างแผงโซลาร์เซลล์ที่มีน้ำหนักเบาโดยทั่วไปจะใช้วัสดุประเภทพอลิเมอร์เช่น Polyethylene Terephthalate (PET) เป็นชั้นด้านหน้าทดแทนกระจก และใช้เป็นชั้นด้านหลังแทน Polyvinyl fluoride (PVF) แผงที่ได้มีน้ำหนักเบาขึ้น แต่รับแรงกดทับหรือแรงกระแทกได้น้อยลง ทำให้เมื่อนำไปใช้งานจริงแผงมีโอกาสเสียหายได้ง่าย การพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ที่ทั้งน้ำหนักเบาและมีความแข็งแรงรองรับน้ำหนักได้ จะช่วยส่งเสริมการประยุกต์ใช้งานในรูปแบบ Vehicle integrated PV (VIPV) ที่แผงต้องติดตั้งกับยานพาหนะและรับแรงสั่นสะเทือนขณะเคลื่อนที่ รวมถึงการใช้งานในรูปแบบ Building integrated PV (BIPV) ได้
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
แผงโซลาร์เซลล์โครงสร้างใหม่ที่มีน้ำหนัก 3.8 kg/m2 หรือคิดเป็นประมาณ 30% ของน้ำหนักแผงทั่วไป โดยแผงมีความแข็งแรงกว่าแผงโครงสร้าง PET-PET หรือ PET-PVF ที่มีน้ำหนักเบาทั่วไปเนื่องจากมีการเสริมชั้นที่มีรูปทรงคล้ายตาข่ายเพิ่มการรับน้ำหนักในโครงสร้างแผง โดยประสิทธิภาพของแผงยังคงเทียบเท่าแผงแบบเดิม จากลักษณะพิเศษของชั้นดังกล่าวแผงที่พัฒนาขึ้นนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า “Mesh PV” จากคุณสมบัติที่เบาและแข็งแรง Mesh PV จึงเหมาะสำหรับประยุกต์ใช้กับยานพาหนะ (VIPV) อาทิ รถยนต์ รถบัส เรือ ที่เริ่มเปลี่ยนเป็น Electrical Vehicle (EV) กันมากขึ้น รวมถึงเหมาะกับการประยุกต์ใช้เป็นส่วนนึงของอาคาร (BIPV) อาทิ หลังคาอาคาร หลังคาทางเดิน หน้าต่างบานพับ กันสาด เป็นต้น
|
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
|
||||||
![]() ![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) | |
|||||
|