เครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร
นักวิจัย  
นนทวัจน์ เจนภูมิศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1201006032 ยื่นคำขอวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในการผลิตผลไม้แช่อิ่มจะต้องใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติ เช่น มะเขือเทศ มะขามป้อม พุทรา องุ่น หรือตะลิงปลิง เป็นต้น ใส่ลงไปในน้ำเชื่อม เพื่อต้องการให้น้ำเชื่อมซึมเข้าไปในเนื้อผลไม้ แต่ผลไม้ดังกล่าวมีเปลือกที่เป็นผิวมัน น้ำเชื่อมจึงซึมเข้าสู่เนื้อผลไม้ได้ยาก การแก้ปัญหาโดยวิธีการดั้งเดิมคือ การเจาะผิวผลไม้โดยการใช้ส้อมจิ้มลงบนผิวผลไม้ทีละผลโดยตรง ต่อมาได้มีการดัดแปลงโดยการใช้ตะเข้จีนซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นไม้ขนาดประมาณ 12 x 30 เซนติเมตร โดยมีลวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1 เซนติเมตร วางเรียงตัวห่างกันประมาณ 0.5 เซนติเมตร ด้วยการตอกเส้นลวดดังกล่าวลงไปในเนื้อไม้ให้สูงพ้นพื้นผิวแผ่นไม้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร โดยกระจายเส้นลวดดังกล่าวให้ทั่วแผ่นไม้ การเจาะผิวผลไม้ทำโดยการนำผลไม้วางบนลวดแล้วใช้มือกดแล้วกลิ้งให้ลวดเจาะทะลุรอบผลไม้ การใช้เครื่องมือทั้ง 2 แบบนี้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและได้ผลผลิตน้อย ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน จากปัญหาดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะประดิษฐ์เครื่องเจาะผิวผลไม้ เพื่อช่วยในการทำงาน ลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ ลดระยะเวลาในการทำงาน และไม่ต้องพึ่งพาความชำนาญส่วนบุคคลในการเจาะผิวผลไม้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การประดิษฐ์นี้เป็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเจาะผิวผลไม้ ซึ่งมีลักษณะที่ประกอบด้วย ชุดเจาะนำเป็นทรงกระบอกมีลวดยื่นออกมาจากผิว หมุนรอบแกนได้โดยการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่เจาะผิววัตถุจากทางเข้าไปสู่ทางออก โดยมีชุดเจาะตามประกอบด้วยแผ่นโค้งที่มีลวดยื่นออกมาจากส่วนโค้ง ซึ่งแผ่นโค้งหมุนรอบแกนด้วยแรงดึงของสปริงและมีจุดพักที่เพลา ทำหน้าที่เจาะและดันวัตถุเข้าชุดเจาะนำจากทางเข้าไปสู่ทางออก
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณ สิทธิศักดิ์ วงศ์กนกพันธ์
โทรศัพท์ 0-2902-0299 ต่อ 2620
Email sittisak.wo@bu.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร"