กระถางย่อยสลายได้และกรรมวิธีการผลิต |
นักวิจัย |
|
อาจารย์นันทยา เก่งเขตร์กิจ และคณะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303001766 ยื่นคำขอวันที่ 22 มิถุนายน 2566 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
การผลิตกระถางย่อยสลายจากพืชเส้นใยธรรมชาติที่มีจำหน่ายหรือมีงานวิจัยรายงานไว้ ส่วนมากมักจะมีการใช้เครื่องกดอัดขึ้นรูปกระถางแบบที่ใช้ความร้อนในการขึ้นรูป โดยใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 120-180 องศาเซลเซียส ระหว่างการใช้งานแม่พิมพ์มีความร้อนและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ และเนื่องด้วยต้นทุนของเครื่องกดอัดร้อนดังกล่าวมีราคาที่สูง จึงทำให้มีข้อจำกัดสำหรับผู้ผลิต/กลุ่มเกษตรกรที่มีต้นทุนในการลงทุน/การผลิต ไม่มากนัก |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
กระถางย่อยสลายได้นี้ มีคุณสมบัติปลดปล่อยปุ๋ยเศษเหลือทิ้งจำพวกพืชเส้นใย ที่เกิดจาการเตรียมวัตถุดิบจำพวกพืชเส้นใยธรรมชาติ มาทำความสะอาด นำมาหั่นลดขนาด ตากแห้ง นำมาปั่นฟูด้วยเครื่องปั่นความเร็วสูง นำเส้นใยที่ได้มาผสมกับ แป้ง น้ำ สารพลาสติกไซเซอร์ และวัตถุกันเสียในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับชนิดแป้งและเส้นใย ผสมให้เข้ากัน นำไปให้ความร้อน นำส่วนผสมมารีดผสมด้วยเครื่องรีด และนำไปให้ความร้อนอีกครั้ง ปั้นและขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดพิมพ์กระถาง (ไม่มีระบบความร้อน) นำกระถางออกจากแม่พิมพ์ ตากจนแห้ง หรืออบแห้ง โดยกระถางที่ได้อาจมีการเพิ่มธาตุอาหารพืชได้ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
อารีวัณย์ อรุณสิทธิ์ |
โทรศัพท์ |
053-921444 ต่อ 2350 |
โทรศัพท์มือถือ |
081-6737929 |
Email |
a_asset@rmutl.ac.th |
สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระถางย่อยสลายได้และกรรมวิธีการผลิต"
|
|