ระบบบำบัดกลิ่นแอมโมเนียแบบชีวภาพ
นักวิจัย  
นายครรชิต เงินคำคง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิรประภา ชัยเนตร และคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303001721 ยื่นคำขอวันที่ 20 มิถุนายน 2566
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ระบบบำบัดกลิ่นในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดที่ถูกออกแบบขึ้นมาจะมีความสามารถในการกำจัดกลิ่นได้ตามชนิดหรือประเภทของสารที่ก่อให้เกิดกลิ่น ด้วยเหตุที่สารที่ก่อให้เกิดกลิ่นมีมากมาย ดังนั้น การเลือกใช้ระบบกำจัดกลิ่น จึงต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพของระบบกำจัดกลิ่นให้เหมาะสม ระบบบำบัดกลิ่นที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ระบบการเผาไหม้โดยตรง ระบบออกซิเดชั่น ระบบการกรองชีวภาพแบบฐานคงที่ กระบวนการฟอกแก็สทางเคมี และระบบ Adsorption Process โดยระบบที่กล่าวมานั้นมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดูแลระบบสูง การดูแลรักษาค่อนข้างยุ่งยาก ระบบมีความซับซ้อน และต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างคนมาดูแล
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ระบบบำบัดกลิ่นแอมโมเนียแบบชีวภาพนี้ มีจุดเด่นสำคัญคือ การนำจุลินทรีย์ที่มีในพื้นที่หรือจุลินทรีย์พื้นถิ่นมาสร้างสภาวะที่เหมาะสมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต โดยการใช้มีเดียเป็นตัวกลางในการยึดเกาะจุลินทรีย์เพิ่มพื้นที่ต่อปริมาตรส่งผลให้ช่วยเพิ่มระยะเวลาและปริมาณจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ดีขึ้น สารอินทรีย์ในมวลอากาศที่มีก๊าซแอมโมเนียจึงมีค่าลดลง และส่งผลให้กลิ่นบรรเทาลงหรือหายไปในที่สุด
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
อารีวัณย์ อรุณสิทธิ์
โทรศัพท์ 053-921444 ต่อ 2350
โทรศัพท์มือถือ 081-6737929
Email a_asset@rmutl.ac.th
สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบบำบัดกลิ่นแอมโมเนียแบบชีวภาพ"