![]() |
||||||||
นักวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราภา พงษ์จันตา และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง |
||||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2303001720 ยื่นคำขอวันที่ 20 มิถุนายน 2566
|
||||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
มันเทศ (sweet potato) เป็นพืชหัวทีปลูกได้ในภาคของประเทศไทย มันเทศที่ปลูกมีทังสีม่วง สีส้ม และสีเหลือง หลังนึ่งสุกจะมีสีสดใส และมีกลิ่นและรสชาติ หอม หวานมันตามธรรมชาติของมันเทศแต่ละสายพันธุ์ และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค เช่น แอนโทไซยานินส์ เป็นสารให้สีตามธรรมชาติทีในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้ และ สารสี คาโรทีนอยด์ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา มันเทศเป็นพืชหัวที่นิยมของผู้บริโภคทุกเพศ และวัยในรูปแบบของ มันเทศนึ่ง เผา มันเทศเชื่อม และใช้ผสมอาหารคาวหวานชนิดต่างๆ และมีการผลิตเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารด้วย แต่อย่างไรก็ตามจะพบว่าสำหรับเครื่องดื่มนมมันเทศชนิดต่างๆ ที่ผลิตและจำหน่ายในปัจจุบันพบว่าจะมีใยอาหารน้อย มีการแต่งกลิ่น รส และสีสังเคราะห์ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ
|
||||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ในการประดิษฐ์นี้ จึงได้พัฒนาให้ได้เครื่องดื่มนมมันเทศไขมันต่ำ ที่สามารถละลายได้ทั้งน้ำเย็น น้ำอุ่น และน้ำร้อนโดยที่ยังคงคุณค่าของโภชนาการ สามารถเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหัวมันเทศที่ปลูกในประเทศไทยผลิตเครื่องดื่มนมมันเทศที่มีกลิ่นรสตามธรรมชาติของหัวมันเทศชนิดต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบองค์รวมของผู้บริโภคในช่วงวัยเด็ก ถึงวัยสูงอายุ
|
||||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
||||||||
![]() |
||||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
|
||||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา | |
|||||||
|