วัสดุมวลเบากันความชื้นจากเศษแก้วและเถ้าลอย
นักวิจัย  
นางวรรณา ต.แสงจันทร์
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
คอนกรีตมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ใช้ระบบการผลิตแบบ Autoclaved Aerated Concrete ทำจากส่วนผสมของทราย ซีเมนต์ ปูนขาว ยิปซั่ม น้ำและผงอะลูมิเนียม เนื่องจากมีฟองอากาศที่เป็นรูพรุนอยู่ในเนื้อมากถึงร้อยละ 75 จึงทำให้มีน้ำหนักเบา ฟองอากาศทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน แต่คอนกรีตมวลเบาชนิดนี้ยังไม่สามารถกันความชื้นได้ เมื่อใช้งานไปนานๆ จะดูดความชื้นเข้าไปในตัววัสดุ ซึ่งส่งผลให้เกิดการแตกร้าวและเกิดเชื้อราได้
จึงมีการนำวัสดุเหลือทิ้งจำพวกเศษแก้วมาทำเป็นผลิตภัณฑ์มวลเบาเรียกว่า glass foam มีข้อดี คือ น้ำหนักเบา มีความแข็ง ทนต่อแรงอัดได้ดี กันความร้อน ไม่ติดไฟ ไม่ไวต่อสารเคมีและไม่เป็นพิษ กันแมลงและแบคทีเรีย และกันความชื้น วัสดุมวลเบาจากเศษแก้วมีสมบัติดีกว่าคอนกรีตมวลเบา คือ มีความเป็นฉนวนดีกว่า และไม่ดูดความชื้น แต่การผลิตวัสดุมวลเบาชนิดนี้ใช้เศษแก้วซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง เป็นวัตถุดิบ จึงมีตุ้นทุนการผลิตที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุดิบที่ใช้ในการทำคอนกรีตมวลเบา
เถ้าลอย (fly ash) เป็นผลพลอยได้จากการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งเถ้าลิกไนต์จากการเผาไหม้จะเป็นเถ้าลอยประมาณร้อยละ 80 ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ในงานคอนกรีตเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มความแข็งแรง ยังมีเถ้าลอยเหลืออยู่จำนวนมากที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน เถ้าลอยเมื่อได้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 1000oC จะเริ่มเกิดฟอง(bubble) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและเกิดโครงสร้างพรุนตัว ผลงานวิจัยจึงเป็นการพัฒนาวัสดุมวลเบากันความชื้นจากเศษแก้วและเถ้าลอย เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการทำวัสดุมวลเบาสำหรับใช้เป็นฉนวนกันความร้อน มีน้ำหนักเบา ไม่ดูดความชื้น และมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าการใช้เศษแก้วเพียงอย่างเดียว
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
วัสดุมวลเบาจากเถ้าลอยเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่ใช้วัสดุเหลือทิ้งประเภทเถ้าลอยเป็นวัตถุดิบ วัสดุมวลเบาดังกล่าวมีรูพรุนในเนื้อวัสดุ น้ำหนักเบา ไม่ดูดความชื้น ค่าความหนาแน่นระหว่าง 0.5 - 0.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าการนำความร้อน 0.12 W/mK วัสดุมวลเบาดังกล่าวสามารถนำไปทำเป็นอิฐก่อผนังเบาสำหรับที่อยู่อาศัย ผนังอาคาร ห้องปฏิบัติการ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นางวรรณา ต.แสงจันทร์
โทรศัพท์ 0 2201 7410
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "วัสดุมวลเบากันความชื้นจากเศษแก้วและเถ้าลอย"