เครื่องแช่ข้าวงอกกึ่งอัตโนมัติ |
นักวิจัย |
|
ผศ.ดร.มนตรี แสงสุริยันต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 21381 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
เครื่องแช่ข้าวงอกกึ่งอัตโนมัติสำหรับการผลิตข้าวฮางงอก มีขั้นตอนการทำงานดังนี้ ขั้นตอนแรกระบบการแช่ข้าวสามารถ เพิ่ม-ลด เวลาจะทำให้เมล็ดข้าวได้รับความชื้นส่งผลให้เมล็ดดูดซึมน้ำจะขยายโตขึ้น ในการแช่ข้าวได้ตามที่ต้องการ ระบบกวนด้วยใบพัดเครื่องกวนแบบไฟฟ้าล้างทำความสะอาดเมล็ดข้าวดีขึ้นหลังจากกวนเสร็จ (เมล็ดข้าวลีบจะลอยสามารถตักออกทิ้งได้ ส่วนเศษดินที่ติดกับเมล็ดข้าวจะจมอยู่ที่ก้นถัง) เมื่อถึงเวลาที่กำหนดการแช่ข้าวมีเสียงเตือนอัตโนมัติจากนั้นก็ปล่อยน้ำทิ้งออกจากถังพร้อมกับเศษดินหรือเศษต่างๆ ที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ข้าวเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกพร้อมน้ำ ระบบสเปรย์กับการเติมอากาศแบบเวนจูรี่จะทำให้เมล็ดข้าวได้รับความชื้นส่วนหยุดพักเกิดความร้อนชื้นกับเมล็ดข้าวส่งผลให้เมล็ดจะขยายโตขึ้นเป็นเร่งการงอก ระบบจะเวียนซ้ำการทำงานตามเวลาที่ผู้ควบคุมการผลิตสั่งการ เป็นการบำบัดน้ำเสียจากการขาดออกซิเจน และขั้นตอนสุดท้ายระบบปล่อยข้าวออกจากถังผลิตเพื่อนำข้าวออกไปนึ่ง โดยการเปิดน้ำเข้าถังทำให้ข้าวผสมกับน้ำข้าวจะลอยขึ้น การเปิดข้าวออกด้วยการเปิดวาล์วน้ำกับข้าวไหลออกมาพร้อมกันตามท่อมายังหม้อนึ่งข้าว นำไปนึ่งต่อไป |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
ครื่องแช่ข้าวงอกกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ (1)ขั้นตอนลำเลียงส่งข้าวลงถัง (2)ขั้นตอน
การแช่ข้าวเปลือกและการทำความสะอาดเมล็ดข้าวเปลือก (3) ขั้นตอนการเร่งการงอก และ (4)ขั้นตอนการนำข้าวออก ซึ่งช่วยลดระยะเวลา ลดชั้นตอนการทำงาน และยังสามารถนำไปใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารในเชิงพาณิชย์ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ชนิดา ยุบลไสย์ |
โทรศัพท์มือถือ |
0956625423 |
Email |
chanida.yub@npu.ac.th |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องแช่ข้าวงอกกึ่งอัตโนมัติ"
|
|