เคลือบเถ้าชานอ้อย
นักวิจัย  
นางศันศนีย์ รักไทยเจริญชีพ
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เถ้าชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้ง จากการเผาไหม้ของชานอ้อยในอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งในแต่ละปีจะมีเถ้าเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลพื้นที่ปลูกอ้อยรวมทั้งประเทศประมาณ 8.4 ล้านไร่ คิดเป็นปริมาณอ้อยส่งเข้าหีบประมาณ 95.4 ล้านตัน ชานอ้อยที่เหลือจากการหีบ จะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานผลิตน้ำตาล ซึ่งหากใช้ชานอ้อยทั้งหมดในการเป็นเชื้อเพลิง จะเหลือของเหลือทิ้งที่เป็นเถ้าชานอ้อยประมาณ 596,000 ตันต่อปี
เถ้าชานอ้อยมีองค์ประกอบเหมาะสมสำหรับใช้เป็นวัสดุทำเคลือบเซรามิก เนื่องจากมีปริมาณซิลิกาอยู่มากสามารถใช้แทนฟลิ้นต์ หรือควอซ์ได้ และยังมีโลหะออกไซด์ เช่น เหล็ก โปแตสเซียม แคลเซียม ซึ่งจะช่วยลดการใช้สารเคมีลงได้มาก อีกทั้งเคลือบขี้เถ้าเป็นเคลือบที่เตรียมได้ง่าย ใช้วัตถุดิบเพียงสองหรือสามชนิดเป็นส่วนผสมหลัก และลักษณะของเคลือบที่ได้มีความหลากหลาย มีสีแตกต่างเฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับปริมาณโลหะออกไซด์ที่ผสมในเคลือบและวิธีการเผา เช่น สีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม สีส้ม สีเทาอมฟ้า สีเขียวอมฟ้า สีน้ำตาล เป็นเคลือบที่นิยมใช้ในเครื่องเคลือบดินเผาดั้งเดิมประเภทของประดับ เช่น แจกัน ถ้วยชา กระเบื้อง เทอราคอตต้า ภาชนะใส่น้ำ เป็นต้น
นักวิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาเคลือบเซรามิกจากเถ้าชานอ้อย เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับโรงงานน้ำตาลหรือชาวไร่อ้อยนอกฤดูการหีบอ้อย ทั้งยังเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
งานวิจัยนี้เป็นการใช้ประโยชน์จากเถ้าชานอ้อยอีกทางหนึ่ง โดยการนำมาผลิตเป็นเคลือบเซรามิกจากเถ้าชานอ้อย โดยการปรับสัดส่วนของส่วนผสมและวิธีการเผา ก็สามารถทำให้ได้ลักษณะของเคลือบที่มีความหลากหลาย มีสีแตกต่างเฉพาะตัว
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นางศันศนีย์ รักไทยเจริญชีพ
โทรศัพท์ 0 2201 7034
Email ssansanee@dss.go.th
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เคลือบเถ้าชานอ้อย"