นวัตกรรมเชิงศิลป์ (Aesthetic Innovation) : การผลิตกระจกเกรียบโบราณ (Thai ancient glass) วัสดุศาสตร์เพื่อการบูรณะอนุรักษ์และต่อยอดเพิ่มมูลค่างานศิลปกรรม
นักวิจัย  
ดร.รัชพล เต๋จ๊ะยา
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001001850 ยื่นคำขอวันที่ 27 มีนาคม 2563
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นวัตกรรมเชิงศิลป์ (Aesthetic Innovation) : การผลิตกระจกเกรียบโบราณ (Thai ancient glass) วัสดุศาสตร์เพื่อการบูรณะอนุรักษ์และต่อยอดเพิ่มมูลค่างานศิลปกรรม เกิดขึ้นด้วยแนวความคิด การฟื้นฟู อนุรักษ์ และ ต่อยอด งานศิลปกรรมกระจกเกรียบของไทย ทั้งนี้ ในงานวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษางานศิลปกรรมร่วมกับการศึกษาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อีกมิติหนึ่ง โดยประยุกต์ใช้เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ที่ชำรุดมาเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์ และเจื่อแร่ธาตุบางชนิดที่พบในผืนแผ่นดินไทย ประดิษฐ์เป็นกระจกเกรียบขึ้นมาใหม่ที่มีองค์ประกอบวัตถุธาตุ และสีสัน ลักษณะทางกายภาพเช่นเดียวกับของโบราณ คงคุณค่าทางด้านวัสดุศาสตร์เชิงวัฒนธรรมของไทย สำหรับการบูรณะอนุรักษ์ ต่อยอดเพิ่มมูลค่างานศิลปกรรมไทย และงานศิลปะโมเสกโลก (Mosaic Art)
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1. ด้านการสืบสาน (อภิรักษ์) ฟื้นฟูกระบวนการผลิตกระจกเกรียบของไทยตามอย่างโบราณ
2. ด้านการรักษา (อนุรักษ์) โดยนำกระจกเกรียบที่ผลิตขึ้นไปบูรณะอนุรักษ์งานศิลปกรรมไทยมรดกของชาติตลอดจนการสร้างงานศิลปกรรมอย่างไทยประเพณีและงานศิลปกรรมร่วมสมัย
3. ด้านการต่อยอด (อภิวัฒน์) ประยุกต์ใช้เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ที่ชำรุดมาเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์ เป็นกระจกเกรียบโบราณ เพิ่มคุณค่าด้านวัสดุศาสตร์ และแปรเปลี่ยนทุนทางวัฒนธรรมกระจกเกรียบเป็นมูลค่า (Soft Power) ในรูปแบบงานหัตถศิลป์ไทย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.รัชพล เต๋จ๊ะยา
โทรศัพท์ 0874859779
โทรศัพท์มือถือ 0874859779
Email krutaedebsirin@gmail.com, ratchapon@satriwit.ac.th
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "นวัตกรรมเชิงศิลป์ (Aesthetic Innovation) : การผลิตกระจกเกรียบโบราณ (Thai ancient glass) วัสดุศาสตร์เพื่อการบูรณะอนุรักษ์และต่อยอดเพิ่มมูลค่างานศิลปกรรม"