เครื่องประดับจากเศษพลอยอัตลักษณ์จังหวัดกาญจนบุรี |
นักวิจัย |
|
ผศ.วรชัย รวบรวมเลิศ
นายอลงกรณ์ ประมวญทรัพย์
รศ. ดร.พิมพ์ทอง ทองนพคุณ
ดร.พัชรี ปรีเปรมโมทย์ คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
|
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
องค์ความรู้ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำนวัตกรรมทางความคิดเชิงสร้างสรรค์ คือการจัดการวัสดุเชิงสร้างสรรค์มาถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้ผู้ประกอบการภายในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าของเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำ ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทให้เหมาะกับตัววัตถุดิบ อีกทั้งสามารถนำไปสู่การขยายโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละรายสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับภายในจังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลให้เกิดการจ้างงานของช่างฝีมือแรงงานภายในจังหวัดกาญจนบุรี เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ลดการนำเข้าวัตถุดิบพลอยจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการวางรากฐานให้กับผู้ประกอบการสู่การประกอบกิจการอัญมณีและเครื่องประดับบนหลักคิดของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน สังคม ด้วยความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเล่าเรื่องราวของของประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรีสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ อย่างยั่งยืน |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ประเภทต้นแบบเครื่องประดับที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์ อัตลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม ของจังหวัดกาญจนบุรี
2. ใช้วัสดุจากเศษพลอยในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ไม่ใช้พลอยก้อนที่มูลค่าสูง ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มาผลิตเป็นเครื่องประดับที่ดูมีมูลค่า เหมาะสมกับยุคสมัยในปัจจุบัน ด้วยหลักการจัดการวัสดุเชิงสร้างสรรค์
3. ใส่ความสร้างสรรค์ทางศิลปะ เน้นการออกแบบในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งราคา ให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในชุมชน และสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
4. ใช้เทคนิคการผลิตที่ต่างจากเดิม มีความหลากหลาย โดยผสมผสานภูมิปัญญาของช่างฝีมือท้องถิ่นและเทคคโนโลยีและวัสดุสมัยใหม่
5. สนองนโยบายตามองค์การสหประชาชาติ ในส่วนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือSustainable Development Goals (SDGs) จากการนำเศษพลอยที่เหลือใช้ในอุตสาหกรรมมาเพิ่มมูลค่า สร้างงานสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น
6. เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายในการจัดการเศษพลอยที่เหลือใช้หรือมีมูลค่าต่ำในท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี
|
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ผศ.วรชัย รวบรวมเลิศ |
โทรศัพท์มือถือ |
0814595644 |
Email |
worachai.n@gmail.com |
คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องประดับจากเศษพลอยอัตลักษณ์จังหวัดกาญจนบุรี"
|
|