ต้นแบบแพลตฟอร์มเต้านมจำลองเพื่อช่วยในการฝึกทำหัตถการนำเข็มด้วยอัลตราซาวด์เพื่อเก็บชิ้นเนื้อตรวจ |
นักวิจัย |
|
ดร.บริพัตร เมธาจารย์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย โดยอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การตรวจคัดกรองจึงเป็นสิ่งจำเป็นหากตรวจพบเร็วก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงทีและมีโอกาสหายได้ โดยการใช้แมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์จะช่วยเพิ่มโอกาสตรวจพบมะเร็งเต้านมมากขึ้น การวินิจฉัยขั้นต่อไปคือการนำชิ้นเนื้อจากรอยโรคที่ตรวจพบส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อให้ได้การวินิจฉัยชิ้นเนื้อเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป เนื่องจากรอยโรคเหล่านี้มักคลำไม่พบจากการตรวจร่างกาย จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางรังสีวินิจฉัยที่ตรวจพบรอยโรคดังกล่าวนำเข็มเก็บชิ้นเนื้อตรวจ
การฝึกปฏิบัติกับเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพจนเกิดความมั่นใจในการทำหัตถการเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเพิ่มทักษะความเชี่ยวชาญทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านมให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น การพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มเต้านมจำลองเพื่อช่วยในการฝึกทำหัตถการนำเข็มด้วยอัลตราซาวด์เพื่อเก็บชิ้นเนื้อตรวจ ต้นแบบเต้านมจำลองนี้จะมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ มีสมบัติต่าง ๆ คล้ายเต้านม โดยที่จะต้องเห็นก้อนเนื้อชัดเจนด้วยเทคนิคอัลตราซาวด์ และเ |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
• ให้ภาพอัลตราซาวด์ที่เห็นก้อนเนื้อชนิดต่าง ๆ ชัดเจน
• ให้ภาพอัลตราซาวด์ของเข็มเจาะชัดเจน
• สามารถใช้ซ้ำได้หากทำกระบวนการลบรอยเข็มหลังการใช้
• เลือกใช้วัสดุจากพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชาติมาเป็นส่วนประกอบวัสดุ
• สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาอวัยวะอื่น ๆ เพื่อให้แพทย์ได้ฝึกทำหัตถการ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ตัวแทนอนุญาตใช้สิทธิ สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช. |
โทรศัพท์ |
0 2564 7000 ต่อ 1617 |
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ต้นแบบแพลตฟอร์มเต้านมจำลองเพื่อช่วยในการฝึกทำหัตถการนำเข็มด้วยอัลตราซาวด์เพื่อเก็บชิ้นเนื้อตรวจ"
|
|