เครื่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรและดอกไม้หอมไทยแบบเคลื่อนที่
นักวิจัย  
ผศ.ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
ผศ.ดร.จักรภพ วงศ์วิวัฒน์
ดร.ภัทรินทร์ สุพานิชวาทิน
นายธนบดี มีลาภ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บริษัท พีเค เทรเชอร์ จำกัด
บริษัท วาทิน จำกัด
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2101002134 ยื่นคำขอวันที่ 14 เมษายน 2564
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2203002398 ยื่นคำขอวันที่ 14 กันยายน 2565
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การสกัดน้ำมันหอมระเหยและเทอร์ปีนมูลค่าสูงจากสมุนไพรและดอกไม้ไทยเป็นปัญหาที่ท้าทายเนื่องจากวิธีการสกัดที่มีอยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดและปัญหามากมาย เช่น การใช้อุณหภูมิสูงในการสกัดสมุนไพรทำให้สารสำคัญออกฤทธิ์ในกลุ่มอัลคาลอยด์ หรือโฟวานอยด์ต่างๆที่ไม่สามารถทนอุณหภูมิสูงได้ถูกทำลาย ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคจากการปนเปื้อนของตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นพิษเช่น เฮกเซน เมทานอล และคลอโรฟอร์ม วิธีการสกัดในปัจจุบันมีความสามารถในการสกัดที่ต่ำใช้เวลานาน อีกทั้งจำเป็นที่ต้องใช้วัตถุดิบแห้งมาสกัด ไม่สามารถสกัดจากวัตถุดิบสดได้เนื่องจากน้ำในวัตถุดิบสดจะปนเปื้อนตัวทำละลาย เป็นต้นโดยผู้ประดิษฐ์ได้แก้ไขข้อจำกัดของวิธีการสกัดแบบดั่งเดิมด้วยการสร้างเทคโนโลยีการสกัดใหม่ที่ใช้ก๊าซตัวทำละลายควบแน่นที่ใช้อุณหภูมิและแรงดันต่ำในการสกัด โดยก๊าซตัวทำละลายเหล่านี้มีจุดเดือดต่ำสามารถแก้ปัญหาการระเหยตัวทำละลายออกจากสารสกัดที่อุณหภูมิสูงได้ โดยก๊าซตัวทำละลายเหล่านี้ไม่ติดไฟและถูกวนใช้งานอยู่ในระบบแบบต่อเนื่อง ไม่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดมีความปลอดภัยสูง สามารถสกัดสารสำคัญออกฤทธิ์ได้ในปริมาณมาก ๆ ที่อุณหภูมิต่ำ ได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1ใช้อุณหภูมิในการสกัดต่ำ และทั้งกระบวนการสกัดเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิห้อง
2ไม่มีการปนเปื้อนจากตัวทำละลายที่เป็นพิษ และตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดเป็นก๊าซควบแน่นที่มีจุดเดือดต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส ทำให้ไม่สามารถตกค้างหรือมีการตกค้างในสารสกัด
สามารถสกัดได้ทั้งวัตถุดิบสดและแห้ง เหมาะกับการแปรรูปสมุนไพรและดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอม 3ได้สารสารสกัดที่มีฤทธิ์ทางเวชสำอางและการแพทย์ ส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาโบราณและแพทย์แผนไทยให้เกิดการใช้งานได้อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรม
4ได้พัฒนาการใช้งานก๊าซตัวทำละลายที่หลากหลาย ซึ่งต่างจากเครื่องสกัดที่มีอยู่ในอเมริกาและยุโรปซึ่งสามารถใช้ HFC 134a ได้เพียงอย่างเดียว
5สามารถเคลื่อนที่ได้ไปสกัดที่แหล่งวัตถุดิบ ลดการขนส่งวัตถุดิบในปริมาณมากๆเหลือเพียงการขนส่งสารสกัด ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งหลายร้อยเท่า
6ใช้แรงงานน้อยในการควบคุมการทำงาน เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถควบคุมสั่งการจากทางไกลได้
7อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการสกัดสอดคล้องกับการผลิตในระดับ Pharmaceutical Grade ทุกส่วนที่สัมผัสกับสารสกัดทำจากสเตนเลส 316L
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์
โทรศัพท์ 0909200868
โทรศัพท์มือถือ 0909200868
Email athipaya@gmail.com
วิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมศาสตร์ มหาวัิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรและดอกไม้หอมไทยแบบเคลื่อนที่"