เทคโนโลยีตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1201002073 ยื่นคำขอวันที่ 3 พฤษภาคม 2555
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีผู้ประกอบการระดับ SME จำนวนมาก ซึ่งไม่มีทุนพอที่จะเข้าถึงเครื่องมือตรวจวัดกลิ่นที่มีราคาแพง คณะวิจัยจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลแบบกระเป๋าหิ้ว (Portable) และเครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลแบบตั้งโต๊ะ (Desktop) ที่ออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมอาหารไทย เพื่อขายในที่ราคาเหมาะสมกับระดับผู้ใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ (วัตถุดิบ) กลางน้ำ (กระบวนการผลิต) ไปจนถึงปลายน้ำ (ตลาด ภัตตาคาร ผู้บริโภค) โดยคณะวิจัยนี้ เป็นกลุ่มแรกในประเทศไทย ที่ได้มีการจำหน่ายเครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลในท้องตลาด รวมทั้งมีการให้บริการรับจ้างดมกลิ่นแก่ผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งทำให้มีการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ความต้องการของผู้ประกอบการ รวมทั้ง pain points ในอุตสาหกรรมนี้ ทำให้อุตสาหกรรม SME ของไทยเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายและกว้างขวางขึ้น รวมทั้งได้มีการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของตลาด เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สิ่งประดิษฐ์ที่นำเสนอนี้ เป็น เครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลแบบกระเป๋าหิ้ว (Portable electronic nose) และเครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลแบบตั้งโต๊ะ (Desktop electronic nose) ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนข้อมูลกลิ่นไปเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digitalization of smell) โดยในตัวเครื่องประกอบด้วยเซนเซอร์ตรวจวัดก๊าซหลายๆ ตัวที่ทำงานร่วมกันแบบอะเรย์ เซ็นเซอร์ที่อยู่ในเครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัล จะทำหน้าที่ตรวจจับกลิ่น โดยสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากการทำอันตรกิริยาระหว่างโมเลกุลกลิ่นและเซ็นเซอร์ จะถูกนำมารวบรวมและแปลงสัญญาณจากอนาล็อกให้เป็นดิจิทัล จากนั้นจะส่งสัญญาณดิจิทัลผ่านไปยังหน่วยประมวลผลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อจดจำรูปแบบของกลิ่น เรียนรู้และจำแนกกลิ่น เครื่องตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัล มีหลักการทำงานคล้ายกับจมูกมนุษย์ โดยเซนเซอร์อะเรย์ (Sensor Array) เปรียบเสมือน Olfactory Receptors ของจมูกมนุษย์ในการจับกับโมเลกุลกลิ่น เซนเซอร์จะมีความต้านทานไฟฟ้าเปลี่ยนไปเมื่อทำอันตรกริยากับไอระเหยโมเลกุลกลิ่น โดยเซนเซอร์แต่ละตัวจะมีความไวต่อสารเคมีระเหยแต่ละชนิดแตกต่างกัน โดยซอฟต์แวร์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ
โทรศัพท์มือถือ 0832454499
Email teerakiat@yahoo.com
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เทคโนโลยีตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัลสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม"