เทคโนโลยีการผลิตวัสดุกราฟีนจากคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการใช้งานเชิงอุตสาหกรรม |
นักวิจัย |
|
ดร. อนุรัตน์ วิศิษฏ์สรอรรถ
นาย ภาคิณ ชมเย็น
นาย ศรัณย์ อรุณรักษา ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2103002777 ยื่นคำขอวันที่ 24 กันยายน 2564 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นแก๊สเรือนกระจกที่มีอยู่ทั่วไปในชั้นบรรยากาศที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก และส่งผลทบต่อสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน มีหลายๆงานวิจัยนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกเพื่อที่จะเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ หนึ่งในแนวทางที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบที่ต้นทุนต่ำหรือแก๊สสำหรับการสังเคราะห์เป็นวัสดุที่มีมูลค่าสูงโดยเฉพาะวัสดุนาโนคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุกราฟีนซึ่งมีโครงสร้างระดับนาโนแบบ 2 มิติ ที่มีมูลค่าสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากกราฟีนมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเป็นพิเศษทั้งในทางกายภาพ ไฟฟ้าและเคมี จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การสังเคราะห์หรือผลิตวัสดุกราฟีนจากคาร์บอนไดออกไซด์นั้น เป็นงานที่มีความท้าทายเนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์มีโมเลกุลที่พันธะคู่ที่แข็งแรง จึงต้องใช้พลังงานค่อนข้างมากจึงทำให้การผลิต มีต้นทุนสูงและยังขาดการศึกษาการผลิตในปริมาณมาก |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
รูปแบบและกระบวนการต้นทุนต่ำที่มีลักษณะเฉพาะทำให้สามารถผลิตกราฟีนในปริมาณมาก ในเชิงปริมาณระบบสามารถผลิตกราฟีนได้มากกว่า 1 กก. ต่อวัน โดยได้ปริมาณกราฟีนรอบละประมาณ 170 กรัม เมื่อใช้ 6 รอบการสังเคราะห์ซึ่งใช้เวลารอบละ 1.5 ชม. รวมเป็นเวลา 9 ชม. จะได้กราฟีนรวมประมาณ 1020 กรัม โดยลักษณะของผลผลิตก่อนและหลังผ่านกระบวนการกัดกรดซึ่งคือ วัสดุผสมกราฟีนและแมกนีเซียมออกไซด์และวัสดุผสมกราฟีน คุณสมบัติเด่นอีกประการคือ ผลผลิตกราฟีนที่ผลิตได้มีคุณภาพสูง โดยมีจำนวนชั้นน้อย (few layers) และมีความบริสุทธิ์สูง ตลอดจนมีระดับข้อบกพร่อง (defects) และออกซิเจนในโครงสร้างต่ำกว่ามาก (< 8 %) ซึ่งจะทำให้กราฟีนที่ได้มีการนำไฟฟ้าและความแข็งแรงที่สูง ได้มีการศึกษาเบื้องต้นในการนำวัสดุกราฟีนที่ได้ไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับเป็นขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่ โดยพบว่าวัสดุกราฟีนที่ได้ให้ผลที่ดีกว่าวัสดุกราฟีนที่มีขายในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นเครื่องผลิตกราฟีนที่ประดิษฐ์ขึ้นมีความพร้อมในการผลิตเพื่อการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
งานธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) |
โทรศัพท์ |
02-5647000 ต่อ 1616 |
Email |
tlo-ipb@nstda.or.th |
|
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เทคโนโลยีการผลิตวัสดุกราฟีนจากคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการใช้งานเชิงอุตสาหกรรม"
|
|