เครื่องหั่นสมุนไพร
นักวิจัย  
ผศ. สุทัศน์ ยอดเพ็ชร และคณะผู้วิจัย


คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 0901005490 เรื่อง เครื่องหั่นหัวกระชายดำ ยื่นคำขอวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สมุนไพรไทย เป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่าที่บรรพบุรุษนำมาเป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค เป็นต้น การแปรรูปสมุนไพรเพื่อมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีสมุนไพรผสม เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เช่น สมุนไพรด้านความงามสมุนไพรอบผิว ลูกประคบ สมุนไพรบดผง สมุนไพรน้ำ เป็นต้น การแปรรูปขั้นตอนแรกคือการหั่นให้เป็นแผ่นบางๆ หรือชิ้นเล็กๆ ก่อนการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่อไป ดั่งเดิมจะใช้แรงงานคนหั่น ส่วนมากคือผู้สูงอายุ เครื่องมือทีมีไม่ตรงกับความต้องการ เช่น เครื่องหั่นขนาดเล็ก หั่นสมุนไพรประเภทน้อยชนิด ที่สำคัญการหั่นไม่ต่อเนื่องทำให้ล้าช้า และเครื่องที่มีขนาดใหญ่จะมีราคาสูง โครงสร้างส่วนมากจะเป็นเหล็ก เกิดสนิมอาจปนเปื้อนในกระบวนการหั่น และการปรับความหนาบางหรือถอดลับคมตัดยังมียุ่งยาก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การหั่นสมุนไพรที่เป็นหัว เช่น ขิง ข่า กระชายดำ ว่านชักมดลูก ขมิ้นชัน เป็นต้น เมื่อนำสมุนไพรป้อนลงห้องหั่น สมุนไพรจะถูกพาหมุนเหวี่ยงผ่านคมตัดที่ตั้งระยะความหนาการหั่นไว้ สมุนไพรที่หั่นแล้วจะตกลงที่รองรับ สมุนไพรที่อยู่ภายในห้องเหวี่ยงจะหมุนผ่านคมตัดจนหมด สามารถป้อนสมุนไพรได้อย่างต่อเนื่อง สามารถตั้งความหนาไดระหว่าง 1 ถึง 5 มิลลิเมตร ประสิทธิภาพการหั่น เฉลี่ย 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ที่ความหนา 2 มิลลิเมตร ใช้ต้นกำลังจากมอเตอร์ 220 โวลต์ขนาด 1/3 แรงม้า
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทัศน์ ยอดเพ็ชร
โทรศัพท์ 044233063
โทรศัพท์มือถือ 081-2512020
Email Suthad@rmuti.ac.th , rdrmuti@gmail.com
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องหั่นสมุนไพร"