ชาเม่า
นักวิจัย  
ผศ.ดร.พรประภา ชุนถนอม และ นางสาวสุดารัตน์ สกุลคู
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9293 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ชาจากเม่า
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ผลิตภัณฑ์ชาจากเม่าหลวงเป็นผลิตภัณฑ์ชาชนิดใหม่ที่ใช้ยอดเม่าและผลเม่า ผสมรวมกับสมุนไพรอื่นๆ ทำให้ได้ชาที่มีเอกลักษณ์ มีสีสวยงาม มีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง และปลอดภัยต่อการบริโภค เนื่องจากยอดและใบอ่อนของต้นเม่าใช้รับประทานเป็นผักสดมานานแล้ว และยังมีรายงานว่าใช้ใบเม่าเพื่อบรรเทาอาการไข้ ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อหิวาห์และบิด และนอกจากนั้นยังมีผลต่อการลดปริมาณน้ำตาลเนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ต่างๆ เช่น ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ แอนโทไซยานิน ฟีนอลและซาโปนิน นอกจากนี้ในยอดเม่าและผลเม่ามีสารสีเขียวและสีม่วง คือ คลอโรฟิลด์และแอนโทไซยานิน ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงป้องกันโรคต่างๆได้ แต่อย่างไรก็ตามสารออกฤทธิ์บางชนิดเสื่อมสลายด้วยความร้อน จึงอบส่วนผสมต่างๆ ที่อุณหภูมิต่ำเพื่อรักษาคุณค่าไว้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์ชาจากเม่าที่ทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze dried) จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงกว่าการอบแห้งแบบลมร้อน (Hot air oven) ที่อุณหภูมิ 45-55 องศาเซลเซียส จนกระทั่งมีความชื้นน้อยกว่า 8% โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ยอดเม่าจากต้นเม่าตัวผู้ ผลเม่าจากสายพันธุ์ภูพานทอง ใบเตย รากชะเอม ได้ผลิตภัณฑ์ชาที่มีสีสวยงาม รสหวานฝาดเปรี้ยวกลมกล่อม มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยา สามารถเก็บรักษาได้นาน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.พรประภา ชุนถนอม
โทรศัพท์ 0 4277 1460
โทรศัพท์มือถือ 08 0750 1087
Email wongfhun@gmail.com , rdrmuti@gmail.com
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชาเม่า"