การผลิตซอสปรุงรสจากโปรตีนไฮโดรไลเซทจากของเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตซูริมิ
นักวิจัย  
รศ.ดร.วรางคณา สมพงษ์
คณะวิทยาศาสตร์ปละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 8876 เรื่อง การผลิตซอสปรุงรสจากโปรตีนไฮโดรไลเซทจากของเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตซูริมิ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การผลิตซอสปรุงรสจากของเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตซูริมิ เริ่มจากการนำหัวและไส้ปลาตาหวาน (Priacanthus tuyenus) จากโรงงานแปรรูปซูริมิไปย่อยสลายด้วยเอนไซม์ปาเปน แล้วโปรตีนไฮโดรไลเซทที่ได้ ไปลดปริมาณความขมของโดยการดูดซับด้วย (Activeted carbon) หลังจากนั้นจึงนำไประเหยน้ำ จนมีปริมาณ ของแข็งที่ละลายได้เท่ากับ 40 % นำโปรตีนไฮโดรไลเซทเข้มข้นไปผลิตซอสปรุงรส ในซอสปรุงรส 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 65.9 กรัม โปรตีนไฮโดรไลเซท 5 กรัม ซีอิ้วขาวสูตรหนึ่ง 20 กรัม น้ำตาลทราย 5 กรัม แป้งดัด แปร 4 กรัม และคาราเมล 0.1 กรัม ต้นเคี่ยวส่วนผสมในกระทะทองเหลือง 10-15 นาทีจนซอสเริ่มมีความข้น หนืด หลังจากนั้นเคี่ยวต่อไปอีก 2-3 นาที นำไปบรรจุในขวดแก้วสะอากที่ผ่านการลวกด้วยน้ำร้อนแล้วปิดฝาให้สนิท ทำให้เย็นและเก็บรักษาในตู้เย็น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โทรศัพท์ 02-564-4440 ต่อ 1664-5
Email tu.tuipi@gmail.com
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การผลิตซอสปรุงรสจากโปรตีนไฮโดรไลเซทจากของเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตซูริมิ"