การควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยยูเรียด้วยน้ำยางธรรมชาติและแป้ง
นักวิจัย  
นายชัยวุฒิ วัดจัง
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1501003799 เรื่อง กรรมวิธีการเคลือบเมล็ดปุ๋ยด้วยสารเคลือบที่มีองค์ประกอบจากน้ำยางธรรมชาติ และแป้งเพื่อควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหาร ยื่นคำขอวันที่ 19 มิถุนายน 2558
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การใช้ปุ๋ยคือสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแต่พบว่าปัญหาในการใช้ปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยยูเรีย (Urea) ซึ่งมีองค์ประกอบของไนโตรเจนเป็นหลักพืชสามารถใช้ปุ๋ยได้เพียง 20 - 40 % เท่านั้น เนื่องจากปุ๋ยเกิดการสูญเสียโดยการระเหิดเนื่องจากแสงแดดและความร้อนถูกชะล้างโดยน้ำฝนไปตามแม่น้ำลำคลอง กล่าวคือพืชดูดธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชแต่ละชนิด วิจัยนี้การเคลือบปุ๋ยยูเรียด้วยสารเคลือบจากน้ำยางธรรมชาติและแป้งสามารถลดการสูญเสียธาตุอาหารหลัการทำงานคือ เมล็ดปุ๋ยที่เคลือบด้วยสารเคลือบจะค่อยๆปล่อยสารออกสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชและช่วยให้พืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
การเคลือบปุ๋ยยูเรียด้วยสารเคลือบที่เตรียมจากน้ำยางธรรมชาติและแป้งช่วยควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้ส่งผลให้พืชนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้สารเคลือบปุ๋ยที่เตรียมขึ้นสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณณัฐนันท์ นันทะแสน/ คุณจักรพงษ์ คำสีเขียว
โทรศัพท์ 045433456 ต่อ 3185
โทรศัพท์มือถือ 0902875363
Email art_615@hotmail.com, ubu_tlo@gmail.com
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "การควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยยูเรียด้วยน้ำยางธรรมชาติและแป้ง"