เครื่องเลื่อยไม้ยางพาราแบบใหม่เพื่อลดการสูญเสีย
นักวิจัย  
รศ.ดร.วิริยะ ทองเรือง และคณะวิจัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9990 เรื่อง เครื่องเลื่อยไม้ยางพารา
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันพบว่าไม้ที่ส่งเข้าโรงเลื่อยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลงแต่มีศักยภาพในการแปรรูปให้มีมูลค่าสูงเทียบเท่า ไม้ซุงใหญ่ได้ในกระบวนแปรรูปในปัจจุบันด้วยเลื่อยสายพานแนวตั้งหรือแบบตั้งโต๊ะของไม้ขนาดดังกล่าวนั้นบริษัทยังประสบปัญหาเกี่ยวกับ 1) กระบวนการแปรรปู ได้ yield ค่อนข้างต่ำ (20-30% ขึ้นอยู่กับความชำ นาญ ของคนเลื่อย ความคดงอ และตาไม้เป็นสำคัญ) 2) เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปไม้ยางในปัจจุบันนั้นต้องอาศัยคนงานที่มีความชำนาญในการแปรรูปไม้ยางและจะสญูเสียวัตถุดิบมากเมื่อผู้เลื่อยไม่ชำนาญ 3) การขาดแคลนแรงงานท่ีมีฝีมือในการเลื่อยตลอดถึงค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตไม้ยางแปรรูป และ 4) อันตรายจากการใช้เครื่องจักร เป็นต้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องเลื่อยไม้ยางพาราแบบใหม่เพื่อลดการสูญเสียสำหรับไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (5-8 นิ้ว) ที่พัฒนาแล้ว และสามารถขยายผลให้ใช้งานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเลื่อยไม้ยางและเฟอร์นิเจอร์ในอนาคตท่ีผ่านมานักวิจัย ได้สร้างต้นแบบเครื่องเลื่อยใหม่ โดยปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดจากเครื่องเลื่อยไม้ยางพาราจากต่างประเทศให้ เหมาะกับสำหรับเลอื่ยไมย้างพาราขนาดเลก็-กลางสำหรับลดการสญูเสียเนื้อไม้และลดต้นทุนการผลิตนอกจากสามารถเลื่อยไม้ยางพาราได้แล้วยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไม้ประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
นายสิทานนท์ อมตเวทย์
โทรศัพท์ 0 7428 9321, 0 90970 7099
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องเลื่อยไม้ยางพาราแบบใหม่เพื่อลดการสูญเสีย"