กรรมวิธีการผลิตตัวดูดซับโลหะหนักจากเศษสับปะรด
นักวิจัย  
ผศ.เริงนภรณ์ โม้พวง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10010 เรื่อง กรรมวิธีการผลิตตัวดูดซับโลหะหนักจากเศษเหลือทิ้งสับปะรด
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัญหาจากเศษเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยเฉพาะสับปะรดหลังฤดูเก็บเกี่ยวมักจะเกิดขึ้นตลอดทั้งปี จนทำให้เกิดการหมักและเน่าเสียเป็นแหล่งเพาะพันธุ์จุลินทรีย์ และส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคพืชหลายโรคในฤดูฝนได้ เช่น โรคยอดเน่า โรคโคนเน่า โรครากเน่า เป็นต้น แนวทางหนึ่งที่เป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์เศษเหลือทิ้งทางการเกษตร คือ การนำมาใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนัก ทั้งนี้ ถ้าสามารถนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และราคาไม่แพงมาใช้ก็จะเป็นการส่งเสริมการกำจัดโลหะหนักในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงทำให้การประดิษฐ์นี้ประยุกต์ใช้ประโยชน์จากสับปะรดเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อนำมาผลิตเป็นตัวดูดซับโลหะหนัก และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับเศษเหลือทิ้งในภาคการเกษตรได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เทคโนโลยีนี้ประกอบด้วยการเตรียมตัวดูดซับจากเศษเหลือทิ้งส่วนต่างๆ ของต้น ผลหรือใบของสับปะรดที่ผ่านกรรมวิธีดัดแปร พบว่ามีความสามารถในการดูดซับโลหะหนักตะกั่ว นิกเกิล และแคดเมียมจากสารละลายน้ำเสียสังเคราะห์ได้ดีกว่าตัวดูดซับที่ไม่ผ่านการดัดแปร และดีกว่าการใช้ถ่านกัมมันต์เป็นตัวดูดซับ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์
โทรศัพท์ 053 - 921444 ต่อ 1120
Email a_asset@rmutl.ac.th
งานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการผลิตตัวดูดซับโลหะหนักจากเศษสับปะรด"