อิฐทนไฟจีโอโพลิเมอร์จากกากอุตสาหกรรม และกรรมวิธีการผลิต
นักวิจัย  
ดร.ฟองจันทร์ จิราสิต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11222 เรื่อง อิฐทนไฟจีโอโพลิเมอร์จากกากอุตสาหกรรม และกรรมวิธีการผลิต
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันงานภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ความร้อนอุณหภูมิสูงในกระบวนการผลิต มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุที่ทนความร้อนสูง อิฐทนไฟจึงเป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่นำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่การผลิตจะใช้ปูนซีเมนต์ทนไฟและดินทนไฟเป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยวัสดุทนแทนปูนซีเมนต์ได้อีกชนิดหนึ่งคือ วัสดุจีโอโพลิเมอร์ (Geopolymer Materials) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับอิฐทนไฟทั่วไป ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือมีวัสดุท้องถิ่นหลายชนิดที่สามารถนำมาเป็นวัสดุตั้งต้นในกระบวนการผลิต และวัสดุที่เสียหายจากการผลิตนำมาใช้ประโยชน์จากเศษเซรามิคที่เหลือ เพื่อผลิตเป็นอิฐทนไฟตามมาตรฐานอุตสาหกรรมได้
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เทคโนโลยีนี้ประกอบด้วยกรรมวิธีการผลิตอิฐทนไฟจีโอโพลิเมอร์จากกากอุตสาหกรรม ตามสัดส่วนผสม เพื่อผลิตเป็นอิฐทนไฟจีโอโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.558-2528 ที่มีค่ากำลังอัด ค่ากำลังรับแรงดัน ค่าความหนาแน่น และมีค่าการดูดกลืนน้ำและค่าความพรุนที่เหมาะสม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์
โทรศัพท์ (053) 921444 ต่อ 1120
Email a_asset@rmutl.ac.th
งานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานบริหารทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อิฐทนไฟจีโอโพลิเมอร์จากกากอุตสาหกรรม และกรรมวิธีการผลิต"