ระบบการฝึกฝนและทดสอบความยืดหยุ่นการเรียนรู้ของสมองขั้นสูง
นักวิจัย  
นายวราวุธ ช่วงชัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 1701001865 เรื่อง ระบบการฝึกฝนและทดสอบความยืดหยุ่นการเรียนรู้ของสมองขั้นสูง
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ผลกระทบของสทรูป (Stroop Effect) คือแบบทดสอบการอ่านคำ และสีหมึกตัวอักษรที่พิมพ์ลงบนกระดาษ ร่วมกับการจับเวลา เป็นปรากฏการณ์ที่ถูกค้นพบโดย จอห์น ไรลีย์ สทรูป (John Ridley Stroop)โดยการพิมพ์ชื่อคำของสีด้วยสีที่ตรงข้ามกัน จึงเป็นการยากที่จะบังคับให้บอกเฉพาะชื่อสีโดยไม่อ่านตัวหนังสือ คำของสีที่เห็นถือเป็นตัวกระตุ้นภายนอกเพื่อให้เกิดคำ (เส้นทางแรก) ในขณะที่สีหมึกทำให้เกิดการบอกชื่อ (เส้นทางหลัง) ซึ่งเส้นทางแรกไปรบกวนเส้นทางหลัง จึงทำให้เกิดการใช้เวลามากขึ้นในการรวบรวมการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ถูกต้อง การอ่านคำจะยังคงเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติถึงแม้ว่าการอ่านนั้นจะเป็นการอ่านคำที่ผิด รวมถึงเป็นสาเหตุของการตอบสนองที่ขัดแย้งกัน การที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการอ่านคำต่าง ๆ ได้ เหตุจากการเกิดกระบวนการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ ปัจจุบัน ผลกระทบของสทรูป ได้ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบระบบประยุกต์บนอุปกรณ์จอสัมผัส เป็นการแสดงคำถามบนหน้าจอของอุปกรณ์ และสามารถสัมผัสที่หน้าจอเพื่อตอบคำถามได้บนหน้าจอเดียวกัน พบปัญหาที่ว่า ระบบประยุกต์เป็นภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้กลุ่มประชากรไทยที่มีข้อจำกัดทางด้านภาษาไม่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง รวมถึง ระดับชั้นของการทดสอบยังไม่มาก และหลากหลายเพียงพอ ที่จะสามารถจำแนกให้เห็นถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน สำหรับการทดสอบกระบวนการทำงานในความยืดหยุ่นการเรียนรู้ของสมองขั้นสูงได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โทรศัพท์ 02-564-4440 ต่อ 1664-5
Email tu.tuipi@gmail.com

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบการฝึกฝนและทดสอบความยืดหยุ่นการเรียนรู้ของสมองขั้นสูง"