อิฐประดับ
นักวิจัย  
ผศ.ดร.นุตา ศุภคต
นางสาวศิริพร กิ่งแก้ว

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (OPC) นั้นก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมหาศาล ในปัจจุบันจึงได้มีการนำผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมมาประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยีจีโอพอลิเมอร์ (geopolymer) มาผลิตเป็นวัสดุทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทยนิยมใช้เถ้าลอยในกระบวนการผลิตจีโอพอลิเมอร์ แต่ยังไม่พบการใช้กากคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตคอนกรีต

สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
งานวิจัยนี้ได้พัฒนาอิฐประดับ โดยใช้ของเสียจากกากอุตสาหกรรมที่มีองค์ประกอบของอลูมินาและซิลิกา ซึ่งได้แก่ เถ้าลอยจากโรงงานไฟฟ้า และกากคอนกรีตจากอุตสาหกรรมผลิตคอนกรีต มาผลิตเป็นอิฐประดับจีโอพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติ ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 168-2546 เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของกากอุตสาหกรรมและเป็นทางเลือกในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สิริรัตน์ เพ็ญศิริกุล (เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ)
โทรศัพท์ 02-218-4195-97
Email cuipi@chula.ac.th
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อิฐประดับ"