ผลิตภัณฑ์เวชสำอางกระชับผิวจากสมุนไพรตังกุย
นักวิจัย  
นางภัทรา อะหมะดี พีรซะหีด


ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ดอยแปกแซม อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่หุบเขา ห่างไกลความเจริญ ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วยการปลูกฝิ่น โครงการพระราชดำริฯ ต้องการให้กลุ่มประชาชนปลูกพืชที่มีประโยชน์ทดแทนการปลูกฝิ่น เพื่อสนองพระราชดำริให้ประชาชนอยู่ดีกินดีจึงเลือกสมุนไพรตังกุย ชื่อวิทยาศาสตร์ (Angelica sinensis (Oliv.) Diels.) วงศ์ Umbelliferae ไทยเรียก โกฏเชียง พันธุ์ที่มีศักยภาพสามารถเพาะปลูกขึ้นในประเทศไทยมาเพาะปลูกแทนการปลูกฝิ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่มีความพร้อมกอปรกับข้อมูลสนับสนุนถึงศักยภาพด้านเวชสำอางของสมุนไพรตังกุย จึงเสนอโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางกระชับผิวจากสมุนไพรตังกุย เพื่อลดการนำเข้า/ทดแทนเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เวชสำอางกระชับผิว
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับผู้ประกอบการ SME ที่จะนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาจากสมุนไพรในประเทศ หาง่ายและราคาไม่สูง และผลข้างเคียงน้อยกว่า ก่อให้เกิดการพึ่งตนเอง เสริมสร้างงานแก่กลุ่มเกษตรกรและภาคเอกชน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
พรรณนิภา คณาณุวัฒน์
โทรศัพท์ 025779438
Email pannipa@tistr.or.th
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์เวชสำอางกระชับผิวจากสมุนไพรตังกุย"