หน้าหลัก
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
กิจกรรม
อัลบั้มภาพ
เกี่ยวกับเรา
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หน้าหลัก
>
อิเล็กทรอนิกส์
> กระดานอินเตอร์แอคทีฟแบบวีโมตที่เขียนด้วยปากกาอินฟราเรด
กระดานอินเตอร์แอคทีฟแบบวีโมตที่เขียนด้วยปากกาอินฟราเรด
นักวิจัย
ผศ.ดร.ชลธี โพธิ์ทอง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12522 เรื่อง กระดานอินเตอร์แอคทีฟแบบวีโมตที่เขียนด้วยปากกาอินฟราเรด
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การถ่ายทอดความรู้และข้อมูลจากครูไปยังนักเรียนจำเป็นต้องอาศัยสื่อการสอนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านความรู้และข้อมูลนั้น กระดานดำ (Blackboard หรือ Chalkboard) ถือเป็นอุปกรณ์สื่อการสอนพื้นฐานและเป็นสื่อการสอนที่นิยมที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กระดานดำเริ่มมีการใช้งานมาตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ณ ประเทศอังกฤษและแพร่หลายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ทั้งนี้เนื่องจากกระดานดำมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการที่ทำให้เป็นที่นิยม ได้แก่ กระดานดำไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก มีราคาที่ประหยัด ให้เส้นคมหนาบางได้ เขียนและลบได้ง่าย อย่างไรก็ตาม กระดานดำมีข้อจำกัดหลายประการ ได้แก่ ข้อมูลที่ปรากฏบนกระดานดำไม่สามารถบันทึกได้โดยตรง ต้องติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานและยากต่อการเคลื่อนย้ายซึ่งอาจเป็นปัญหากับนักเรียนที่มีปัญหาด้านสายตาได้ อาจมีอันตรายจากฝุ่นละอองของชอล์กที่ใช้เขียน ยากต่อการแสดงภาพเคลื่อนไหว ลายมือของครูอาจไม่ชัดเจนยากต่อการอ่าน การเขียนกระดานดำอาจใช้เวลามากซึ่งอาจทำให้การเรียนการสอนล่าช้าและไม่น่าสนใจ
ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้มีการเสนอวิธีแก้ปัญหาข้อจากัดของกระดานดำ โดย Martin Heit ได้สร้างกระดานขาว (Whiteboard) ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2493-2503 ซึ่งกระดานขาวสามารถแก้ปัญหาส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับฝุ่นละอองจากชอล์กได้ด้วยการใช้หมึกเคมีแทน อย่างไรก็ตาม กระดานขาวยังมีปัญหาเกี่ยวกับราคาที่สูง หมึกปากกาที่บรรจุหมึกแห้งเร็ว และยังไม่สามารถบันทึกข้อมูลจากกระดานได้โดยตรง ในปี พ.ศ. 2533 บริษัท Xerox Parc ได้ประดิษฐ์กระดานอินเตอร์แอคทีฟ (Interactive board) ขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ถูกพัฒนาในเชิงพาณิชย์ด้วยบริษัท Smart board ในปีถัดมา กระดานอินเตอร์แอคทีฟนี้ ทำหน้าที่เหมือนกระดานดำทุกประการแต่สามารถบันทึกข้อมูลที่ปรากฏบนกระดานลงในคอมพิวเตอร์ได้ สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหว สามารถเคลื่อนย้ายได้และง่ายต่อการติดตั้งเพราะมีขนาดเล็ก แก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่นละอองชอล์กหรือหมึกปากกาโดยสิ้นเชิง อีกทั้งสามารถลบและเลือกการนำเสนอได้อย่างรวดเร็ว สามารถแสดงสื่อผสมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแสง สี เสียง ได้อย่างครบถ้วน มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า นักเรียนให้ความสนใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้น เมื่อใช้กระดานอินเตอร์แอคทีฟในการเรียนการสอนเปรียบเทียบกับการใช้กระดานดำแบบธรรมดา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อัตราการใช้กระดานอินเตอร์แอคทีฟในการเรียนการสอนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ราคาของกระดานอินเตอร์แอคทีฟ ณ ปัจจุบันมีราคาในช่วงประมาณ 100,000-300,000 บาท ซึ่งแพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระดานดำหรือกระดานขาว ดังนั้นการวิจัยเพื่อค้นหาวิธีการสร้างกระดานอินเตอร์แอคทีฟให้มีราคาถูกลงจึงเป็นความท้าทายสำหรับนักวิจัยเป็นอย่างมาก
งานวิจัยนี้นำเสนอกระดานอินเตอร์แอคทีฟแบบวีโมตที่เขียนด้วยปากกาอินฟราเรด ซึ่งเป็นกระดานที่จัดสร้างโดยใช้เทคโนโลยีร่วมระหว่างวีโมต (Wiimote) และปากกาอินฟราเรด (Infrared) โดยผู้ใช้สามารถใช้ปากกาอินฟราเรดเพื่อเขียนเสมือนใช้ชอล์กหรือปากกาเคมี หรือ ใช้คลิกเหมือนเมาส์ ในขณะที่วีโมต ทำหน้าที่รับสัญญาณรังสีอินฟราเรดและสั่งการจอภาพให้แสดงภาพตามต้องการ การส่งข้อมูลทำผ่านบอร์ดกระจายสัญญาณบลูทูธ (Bluetooth) ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (Tablet) ซึ่งการส่งข้อมูลลักษณะนี้ทำให้สามารถรับสัญญาณวีโมตได้ในบริเวณกว้าง ผู้ใช้สามารถสั่งการได้ในระยะไกล คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กทำให้อุปกรณ์ส่วนประกอบของกระดานมีน้ำหนักเบาและสะดวกในการพกพา
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กระดานอินเตอร์แอคทีฟแบบวีโมตที่เขียนด้วยปากกาอินฟราเรดตาม
ประกอบด้วยหกส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งเป็นปากกาอินฟราเรดทำหน้าที่เสมือนชอล์กหรือปากกาเคมีเขียนกระดาน หรือ ทำหน้าที่เสมือนเมาส์เพื่อใช้เลือกหรือปรับคุณสมบัติของข้อความหรือรูปที่แสดงบนกระดาน ส่วนที่สองเป็นวีโมตทำหน้าที่รับสัญญาณอินฟราเรดจากปากกาอินฟราเรดเพื่อแปลงเป็นคำสั่งสำหรับดำเนินการในขั้นตอนการแสดงข้อความหรือภาพบนกระดาน ส่วนที่สามเป็นบอร์ดกระจายสัญญาณบลูทูธทำหน้าที่รับสัญญาณจากวีโมตในระยะไกลและส่งสัญญาณให้ส่วนที่สี่ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่ทำหน้าที่ประมวลผลและส่งสัญญาณภาพไปยังส่วนที่ห้า คือ โปรเจคเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อแสดงบนส่วนที่หกคือจอภาพ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำเสนอแบบสไลด์ หรือแสดงสื่อมัลติมีเดียได้ด้วย สามารถบันทึกหรือลบข้อมูลที่แสดงบนกระดานได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งผู้ใช้งานสามารถเขียนหรือสั่งการกระดานได้ในระยะไกลและใช้งานกระดานได้พร้อมกันในจำนวนไม่จำกัด
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
อทิตยา โพนทอง
โทรศัพท์
043-754192
โทรศัพท์มือถือ
095-6590642
Email
msu_ipmo@hotmail.com
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระดานอินเตอร์แอคทีฟแบบวีโมตที่เขียนด้วยปากกาอินฟราเรด"
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
กิจกรรม
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สอบถามข้อมูล
NSTDA Call Center : 0 2564 8000
อีเมล :
techshow@nstda.or.th
Maintenance by
Digital Mind Co., Ltd.
© Copyright 2016 Thailandtechshow.com All Rights Reserved.