หน้าหลัก
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
กิจกรรม
อัลบั้มภาพ
เกี่ยวกับเรา
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หน้าหลัก
>
เกษตร/ประมง
> TILAVAC: วัคซีนป้องกันเชื้อ Tilapia Lake Virus ในปลานิลและปลานิลแดง
TILAVAC: วัคซีนป้องกันเชื้อ Tilapia Lake Virus ในปลานิลและปลานิลแดง
นักวิจัย
ผศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์
นางสาวปุณธนาฒย์ ทัตติยพงศ์
ภาควิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1601005713 เรื่อง วัคซีนเชื้อเป็นเพื่อป้องกันโรคไวรัสสายพันธุ์ไทย (ชนิดใหม่) ในปลานิลและปลาทับทิม ยื่นคำขอวันที่ 27 กันยายน 2559
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12850 เรื่อง การเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสที่ก่อโรคตายเดือนในปลานิลและปลาทับทิมในเซลล์เพาะเลี้ยง
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603001440 เรื่อง วัคซีนเชื้อตายเพื่อป้องกันโรคไวรัสชนิดใหม่สายพันธุ์ไทยในปลานิลและปลาทับทิม ยื่นคำขอวันที่ 15 สิงหาคม 2559
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603002362 เรื่อง ไพร์เมอร์ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสชนิดใหม่สายพันธุ์ไทยในปลานิลและปลาทับทิมและการใช้ประโยชน์ ยื่นคำขอวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปลานิลและปลานิลแดงจัดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เช่น จีน อินโดนีเซีย อียิปต์ ฟิลิปปินส์ และอิสราเอล เป็นต้น ในประเทศไทยปลานิลและปลานิลแดงจัดเป็นสัตว์น้ำจืดที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุด (ประมาณ 200,000 ตันต่อปี) คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 9,700 ล้านบาทต่อปี มีเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้มากกว่า 300,000 ครอบครัว ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลและปลานิลแดงในประเทศไทย มักจะประสบปัญหาการระบาดของโรคตายเดือนโดยพบการตายในช่วงหนึ่งเดือนแรกที่ย้ายปลาลงเลี้ยงในกระชังหรือบ่อดินจึงเรียกว่า “โรคตายเดือน” อัตราการตายอยู่ระหว่าง 20-100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหานี้ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ลูกปลาที่รอดตายจากปัญหานี้หรือที่ผ่านเชื้อขนาด 10-30 กรัม จะมีราคาสูงขึ้นอย่างน้อยตัวละ 2-4 บาท ประเมินความเสียหายจากปัญหาโรคตายเดือนจะมีจำนวนลูกปลาสูญเสียระหว่าง 200-300 ล้านตัว ถ้าลูกปลาราคาตัวละ 1 บาท มูลค่าทางเศรษฐกิจของปัญหานี้อาจสูงถึง 300 ล้านบาทต่อปี ทางคณะผู้วิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ศึกษาสาเหตุของปัญหา ทำให้ทราบว่าเชื้อที่ก่อโรคตายเดือนเป็น “ไวรัสชนิดใหม่” ที่เรียกว่า Tilapia Lake Virus (TiLV) ที่ยังไม่เคยมีรายงานมาก่อนในประเทศไทย จากการวิจัยพบว่าปลาที่รอดตายจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้และไม่พบความเสียหายอีกตลอดช่วงเวลาที่เหลือของการเลี้ยง ดังนั้นการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ชนิดนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมนี้เป็นการพัฒนาวัคซีนทั้งในรูปแบบเชื้อตายและเชื้อเป็นเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ในปลานิลและปลานิลแดง รวมถึงกรรมวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อและการตรวจวินิจฉัยโรคในปลาที่ติดเชื้อ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลงานชิ้นนี้เป็นการพัฒนาวัคซีนเชื้อตายและวัคซีนเชื้อเป็น (TILAVAC) เพื่อป้องกันโรคตายเดือนที่เกิดจากเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ (สายพันธุ์ไทย) ในปลานิลและปลานิลแดง ที่เรียกว่า ทิลาเปียเลคไวรัส (Tilapia Lake Virus; TiLV) การพัฒนาวัคซีนประกอบด้วยการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้ปริมาณเชื้อที่เพียงพอ การทำให้เชื้ออ่อนแรง (เชื้อเป็น) หรือฆ่าด้วยสารเคมี (เชื้อตาย) การเตรียมแอนติเจนสำหรับผลิตเป็นวัคซีน การพัฒนาวิธีตรวจหาปริมาณเชื้อในปลาที่ได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อในธรรมชาติ การพัฒนาวิธีตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในปลาที่ได้รับวัคซีน และการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและภาคสนาม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.น.สพ.ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์
โทรศัพท์
(02) 7971900 ต่อ 4314
โทรศัพท์มือถือ
(089)-9006117
Email
fvetwsp@ku.ac.th
ภาควิชาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "TILAVAC: วัคซีนป้องกันเชื้อ Tilapia Lake Virus ในปลานิลและปลานิลแดง"
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
กิจกรรม
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สอบถามข้อมูล
NSTDA Call Center : 0 2564 8000
อีเมล :
techshow@nstda.or.th
Maintenance by
Digital Mind Co., Ltd.
© Copyright 2016 Thailandtechshow.com All Rights Reserved.