เครื่องวิเคราะห์ปริมาณอมิโลสแบบง่าย
นักวิจัย  
รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 11855 เรื่อง เครื่องวิเคราะห์ปริมาณอมิโลสแบบพกพา
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปริมาณอมิโลสในเมล็ดข้าวเป็นตัวชี้วัดสำหรับการจำแนกคุณภาพของข้าว และเป็นดัชนีบ่งชี้การปลอมปนของข้าวได้อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือการตรวจวัดสีที่เกิดจากเครื่องวัดการดูดกลืนคลื่นแสง (spectrophotometer) ที่ความยาวคลื่น 620 นาโนเมตร เปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐาน
อมิโลสบริสุทธิ์ที่สัดส่วนต่างๆ และนำมาสร้างเป็นกราฟมาตรฐานในการเปรียบเทียบกับปริมาณอมิโลสในเมล็ดข้าว แล้วจึงคำนวณสมการทำนายปริมาณอมิโลสด้วยสมการเส้นตรง จะเห็นได้ว่าวิธีดังกล่าวมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความชำนาญในการปฏิบัติงานจากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาเครื่องวิเคราะห์ปริมาณอมิโลสที่แบบง่าย โดยมีการบันทึกค่าสมการมาตรฐานที่แม่นยำและครอบคลุมช่วงการทำนายที่มากกว่าปกติซึ่งจะทำให้ค่าวิเคราะห์ที่ได้มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสามารถคำนวณปริมาณอมิโลสออกมาได้ทันทีหลังจากการวัดค่าการดูดกลืนคลื่นแสงของสารละลายตัวอย่าง มีการออกแบบตัวเครื่องให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาเพื่อปฏิบัติงานนอกห้องปฏิบัติงาน เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และใช้งานได้ง่ายขึ้น และได้ผลที่แม่นยำเช่นเดียวกับการวัดด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนคลื่นแสงแบบเดิม ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวิเคราะห์เพื่อการควบคุมคุณภาพข้าว และไม่ต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับใช้เพื่อการควบคุมคุณภาพภาพในอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานขนาดเล็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตข้าวของไทยเป็นอย่างมาก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องวิเคราะห์ปริมาณอมิโลสในเมล็ดข้าว ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกว่าเครื่อง spectrophotometer ทั่วไป โดยมีช่องสำหรับบรรจุสารละลายตัวอย่าง ตัวเครื่องสามารถคำนวณปริมาณอมิโลสได้ทันทีโดยชุดสมการเส้นตรงสำหรับคำนวณปริมาณอมิโลสที่บันทึกอยู่บนหน่วยความจำของเครื่อง โดยไม่ต้องสร้างกราฟมาตรฐาน สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณอมิโลสได้ง่าย เป็นการลดขั้นตอนในการสร้างกราฟที่ยุ่งยากลง ทำให้ประหยัดเวลาในการตรวจวิเคราะห์ ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาเพื่อปฏิบัติงานนอกสถานที่ จึงทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็ว
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย
โทรศัพท์ 02-5793130
โทรศัพท์มือถือ 0813900091
Email taneesree@yahoo.com
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องวิเคราะห์ปริมาณอมิโลสแบบง่าย"