กระบวนการผลิตน้ำนมแพะพาสเจอร์ไรซ์
นักวิจัย  
นางศศิธร นาคทอง
ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเภทของการให้ความร้อนกับน้ำนมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. พาสเจอร์ไรซ์เซชั่น เป็นการให้ความร้อนแก่น้ำนมที่ความร้อนไม่สูงมาก
แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1.1 Low temp long time pasteurization เป็นการพาสเจอร์ไรซ์น้ำนมที่ใช้กันมาเป็นเวลายาวนาน อุณหภูมิที่ใช้อยู่ระหว่าง 62.8-65.6 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 30 นาที หลังจากนั้นทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ 10องศาเซลเซียส
1.2 High temperature short time pasteurization เป็นวิธีการพาสเจอร์ไรซ์แบบต่อเนื่อง โดยให้ความร้อนอยู่ที่ 72-75 องศาเซลเซียส นาน 15 ถึง 20 วินาที จากนั้นทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว
2. สเตอริไรซ์เซชั่น และ
3. ยูเอชที
นมแพะมีขนาดโมเลกุลไขมัน โปรตีนเล็กกว่าน้ำนมโคทำให้กระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ที่กล่าวมาข้างต้นไม่สามารถใช้กับนมแพะได้ โดยความร้อนที่ให้กับน้ำนมด้วยการพาสเจอร์ไรซ์ถ้าอุณหภูมิสูงไปจะทำให้คุณค่าของสารอาหารที่เป็นประโยชน์ในน้ำนมแพะเสียไป แต่หากใช้อุณหภูมิต่ำเกินไปเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำนมไม่โดนทำลาย ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภค
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
น้ำนมแพะพาสเจอร์ไรซ์ที่อุณหภูมิ และเวลาที่เหมาะสม และมีเทคนิคเฉพาะในวิธีการพาสเจอร์ไรซ์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.ศศิธร นาคทอง
โทรศัพท์ 034-351892
โทรศัพท์มือถือ 084-0150603
Email agrsas@ku.ac.th
ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระบวนการผลิตน้ำนมแพะพาสเจอร์ไรซ์"