สารเคลือบผิวเพื่อบำบัดอากาศในอาคาร
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สิริลักษณ์ เจียรากร และคณะ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1401005161 เรื่อง ตัวเร่งปฏิกิริยาทางแสงที่ทำงานภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลตและแสงฟลูออเรสเซนต์ ยื่นคำขอวันที่ 5 กันยายน 2557
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจส่งผลให้ชุมชนเมืองมีการขยายตัวมากขึ้น และมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างในลักษณะอาคารปิดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคารถึงร้อยละ 90 ของในแต่ละวัน ซึ่งภายในอาคารมีแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ มากมาย ได้แก่ เครื่องสำเนาเอกสาร เฟอร์นิเจอร์ สารทำความสะอาด สารซักล้าง ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเกิดการเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ เช่น การระคายเคืองผิว ระคายเคืองตา ปวดศีรษะ และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ อาการเหล่านี้เรียกว่ากลุ่มอาการโรคภูมิแพ้ตึก (Sick Building Syndrome : SBS) หรืออาจมีอาการที่พบในระยะยาวได้แก่โรคมะเร็ง จากการที่มนุษย์ในปัจจุบันอาศัยอยู่ภายในอาคารปิด ทีมวิจัยจึงเล็งเห็นถึงการลดมลพิษภายในอาคารได้จะส่งผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก
นักวิจัยได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสารเคลือบผิว Claen-Coat ให้สามารถทำงานได้แม้อยู่ในพื้นที่อับแสงยูวี และสามารถทำงานได้ภายใต้แสงฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นจึงนำสาร Claen-Coat ไปประยุกใช้งานกับวัสดุภายในอาคาร หรือการนำไปฉีดพ่น ผสมสี ตลอดจนการเคลือบบนกระเบื้องตกแต่ง กระจก หรือผนังภายในอาคารเพื่อให้สารทำหน้าที่ฟอกอากาศและลดการสะสมของ แบคทีเรีย รา ไวรัส ในอากาศในอาคาร
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ตัวเร่งปฏิกิริยาสารเคลือบผิว Claen-Coat ที่มีการพัฒนาขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับวัสดุ หรือสีที่ใช้ภายในอาคาร โดยมีความสามารถในการฟอกอากาศและลดการสะสมของ แบคทีเรีย รา ไวรัส ในอากาศภายในอาคาร
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.อมรรัตน์ วัฒนล้ำเลิศ, ศศิธร บูรณตรีเวทย์
โทรศัพท์ 0-2470-9626
Email amornrat.wat@kmutt.ac.th
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "สารเคลือบผิวเพื่อบำบัดอากาศในอาคาร"