Smart Building Materials for indoor air purification
นักวิจัย  
ผศ.ดร.สิริลักษณ์ เจียรากร และคณะ
สายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้ เรื่อง เรื่องกระบวนการสังเคราะห์วัสดุ โดยวิธีการเคลือบด้วยฟลูออเรสเซนส์ ด้วยปฏิกิริยาสังเคราะห์แสง
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1401005161 เรื่อง ตัวเร่งปฏิกิริยาทางแสงที่ทำงานภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลตและแสงฟลูออเรสเซนต์ ยื่นคำขอวันที่ 5 กันยายน 2557
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบัน มลภาวะอากาศในอาคารเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม จากการประมาณการโดย The United States Environmental Protection Agency พบว่าผู้คนในปัจจุบันใช้เวลาในการอยู่ในอาคารมากกว่าร้อยละ 90 โดยเฉพาะอาคารประเภทพักอาศัย ด้วยเหตุนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับมลภาวะทางอากาศภายในอาคาร ที่มีสาเหตุมาจากวัสดุอาคารและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว ทีมวิจัยจึงเล็งเห็นถึงการลดมลพิษภายในอาคาร จึงได้มีการพัฒนาสารเคลือบวัสดุที่ใช้ภายในอาคาร เพื่อใช้ช่วยฟอกอากาศ และลดการสะสมของ แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สารเคลือบผิว Clean Coat เป็นสารเคลือบผิววัสดุ PCO ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลาทั้งที่มีแสงและไม่มีแสง มีสมบัติที่สามารถทำลายสารอันตรายที่เป็นมลพิษทางอากาศในอาคาร เช่น เบนซีน หรือสารกลุ่มที่เรียกว่าบีเทค (BTEX) ซึ่งเป็นสารระเหยอินทรีย์และเป็นสารก่อมะเร็งหากได้รับในปริมาณมากหรือสัมผัสในระยะยาว และยังมีก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ที่มากับเฟอร์นิเจอร์ หรืองานไม้ต่างๆ และสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย รา และไวรัส ที่ปะปนอยู่ในอากาศ
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.อมรรัตน์ วัฒนล้ำเลิศ, ศศิธร บูรณตรีเวทย์
โทรศัพท์ 0-2470-9626
Email amornrat.wat@kmutt.ac.th
หน่วยงานถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "Smart Building Materials for indoor air purification"