จีโอโพลิเมอร์จากดินแดงและของเสียอุตสาหกรรม
นักวิจัย  
ดร.อนุชา วรรณก้อน
นางสาว ภัทรวรรณ เฉยเจริญ
นาง วัชรี สอนลา


ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 13427
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จีโอโพลีเมอร์ เป็นวัสดุใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนเซรามิกได้ในบางประเภท และกำลังได้รับความสนใจในการวิจัยในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้อง จึงช่วยประหยัดพลังงานในการผลิตได้มาก โดยในงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาสูตรผสมจีโอโพลีเมอร์ ที่มีส่วนผสมของดินแดงทดแทนดินขาว และสามารถนำของเสียอุตสาหกรรมเซรามิกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดปัญหาการกำจัดของเสีย โดยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จะมีลักษณะลวดลายเฉพาะคล้ายกับหินแกรนิตธรรมชาติ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
จากสูตรผสมดังกล่าว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทำต้นแบบที่หลากหลาย เช่น อิฐตกแต่ง หรืออิฐปูพื้น ที่ผลิตจากดินแดงอ่างทอง และเศษบิสกิตจากอุตสาหกรรมเซรามิกที่ผ่านการบดและร่อนผ่านตะแกรงให้มีหลายขนาดคละผสมกัน แล้วใช้สารละลายด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างต้นแบบอิฐตกแต่งนี้ มีค่าความต้านทานต่อแรงอัด 13-14 MPa และค่าการดูดซึมน้ำ 10-11%
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.
โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1617
Email tlo-ipb@nstda.or.th

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "จีโอโพลิเมอร์จากดินแดงและของเสียอุตสาหกรรม"