ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (Spod-e Focus)
นักวิจัย  
นาย สัมฤทธิ์ เกียววงษ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม โดยสามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งปี และส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 289,570 ล้านบาท (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2551) อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของไทย คือ การระบาดของศัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงศัตรูพืช ซึ่งสร้างความเสียหายโดยตรงต่อผลผลิตของเกษตรกร และส่งผลกระทบต่อเนื่อง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชฉีดพ่น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จนอาจไม่คุ้มต่อการลงทุนในการเพาะปลูกของเกษตรกร
ในปี 2552 ประเทศไทยมีการนำเข้าเฉพาะสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช (insecticides) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,972 ล้านบาท (ฝ่ายวัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร) จากแนวโน้มการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มากเกินความจำเป็นและการใช้ที่ไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิต นอกจากนั้น ในเวทีการค้าโลกได้ตกลงลดการกีดกันทางการค้าด้านภาษีลง เพื่อสนับสนุนแนวทางการค้าเสรี แต่ในการปฏิบัติจริงประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศ โดยเฉพาะคู่ค้าทางการเกษตร อาทิเช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้ใช้วิธีกีดกันทางการค้า โดยใช้คุณภาพของสินค้าเป็นตัวกำหนดในการนำเข้าสินค้าทางการเกษตรจากประเทศไทย เช่น การกำหนดระดับของสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศดังกล่าว ทั้งๆ ที่ประเทศเหล่านี้มีความต้องการซื้อสินค้าจากประเทศไทยจำนวนมาก
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เอ็น พี วี (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในจำนวนไวรัสที่มีการค้นพบทั้งหมดใน 8 Family ไวรัสเอ็นพีวี จัดอยู่ในวงศ์ Baculoviridae สกุล Baculovirus พบเกิดโรคกับตัวอ่อนของแมลงในอันดับ Lepidoptera เป็นส่วนใหญ่ ไวรัส เอ็น พี วี เป็นเชื้อชีวินทรีย์ที่มีความเจาะจงกับแมลงเป้าหมาย โดยชนิดที่ก่อโรคในหนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua nuclear polyhedrosis virus : SeNPV) ที่พบในประเทศไทย จะมีอนุภาคของไวรัสอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (multiple embeded) ตั้งแต่ 3 - 5 อนุภาคใน nucleocapsid และ nucleocapsid ถูกห่อหุ้มด้วยผลึกโปรตีน รูปร่างหลายเหลี่ยม เมื่อหนอนกระทู้หอมกินเข้าไป จะทำให้เกิดโรคและตายภายใน 3 – 7 วัน ตัวอย่างพืชเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จในการนำไวรัสชนิดนี้ไปใช้ เช่น องุ่น มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไม้ หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ เป็นต้น โดยสามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณสโรชา เพ็งศรี
โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1311
Email sarocha.phengsri@tmc.nstda.or.th
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) สวทช.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (Spod-e Focus)"