หน้าหลัก
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
กิจกรรม
อัลบั้มภาพ
เกี่ยวกับเรา
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หน้าหลัก
>
เกษตร/ประมง
> ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม (Potassic Biofertilizer)
ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม (Potassic Biofertilizer)
นักวิจัย
ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์
ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีลักษณะดินบางส่วนเป็นชั้นดินเหนียวที่อัดตัวกันแน่น ที่เรียกว่า ดินดาน ทำให้รากมันสำปะหลังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุโพแทสเซียม (K) ซึ่งธาตุนี้ที่พบในดินดาน ส่วนใหญ่จะเป็นโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนไม่ได้ (non exchangeable K) มันสำปะหลังจึงไม่สามารถนำโพแทสเซียมที่อยู่บริเวณนั้น ตามธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้ตกต่ำ เนื่องจากธาตุโพแทสเซียม มีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรตจากใบและต้นมันสำปะหลังไปยังราก ทำให้เพิ่มปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลัง และลดปริมาณไฮโดรไซยานิคที่เป็นอันตรายในหัวมันได้ การขาดธาตุโพแทสเซียมจึงส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงอย่างชัดเจน ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียมจึงเป็นปุ๋ยชีวภาพที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง โดยมีการนำเอาแบคทีเรียหลายสายพันธุ์มาเป็นส่วนผสมของปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้ มีประสิทธิภาพในการละลายธาตุโพแทสเซียมและปลดปล่อยออกมาจากดิน ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ โดยแบคทีเรียจะสร้างกรดอินทรีย์ออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากแร่ดินเหนียว เช่น micas, illite, orthoclases และ feldspars ให้อยู่ในรูปของโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ พืชจึงสามารถดูดไปใช้ได้ทันทีอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น และยังช่วยปรับปรุงคุณภาพดินได้อีกทางหนึ่งด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม มีส่วนผสมของแบคทีเรียสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการละลายธาตุโพแทสเซียมและปลดปล่อยออกมาจากดิน ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ จึงใช้แก้ปัญหาดินดาน ช่วยให้รากมันสำปะหลังสามารถดูดใช้ธาตุโพแทสเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน ทำให้ผลผลิตของมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่างชัดเจน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทรศัพท์
0 2244 5280-2
โทรศัพท์มือถือ
0 8130 02594
Email
jirajitsupa@gmail.com
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ปุ๋ยชีวภาพละลายโพแทสเซียม (Potassic Biofertilizer)"
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
กิจกรรม
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สอบถามข้อมูล
NSTDA Call Center : 0 2564 8000
อีเมล :
techshow@nstda.or.th
Maintenance by
Digital Mind Co., Ltd.
© Copyright 2016 Thailandtechshow.com All Rights Reserved.