หน้าหลัก
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
กิจกรรม
อัลบั้มภาพ
เกี่ยวกับเรา
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หน้าหลัก
>
อิเล็กทรอนิกส์
> เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละออง
เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละออง
นักวิจัย
ผศ.ดร. สุภาพ ชูพันธ์
ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
จากการจัดอันดับที่ได้นำเสนอครั้งแรกในปีที่ผ่านมา โดยผลจากการพิจารณาตามค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายเดือน และจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐานตลอดทั้งปี 2559 พบว่า พื้นที่ที่มีมลพิษ PM 2.5 ห้าอันดับแรกคือ เชียงใหม่(อ.เมือง) ขอนแก่น(อ.เมือง) ลำปาง(แม่เมาะ) กรุงเทพฯ(ดินแดง) และสมุทรสาคร(อ.เมือง) ตามลำดับ จากปัญหามลพิษหมอกควันและฝุ่นละอองในอากาศที่เกิดขึ้นในช่วง 4 - 5 ปี ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกว่า 2,000 ล้านบาท และทำให้มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่โรคหอบหืดและโรคมะเร็งปอด จากการวิจัยของนายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดประมาณ 40 คนต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่ในภาคอื่นๆ มีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเฉลี่ยประมาณ 20 คนต่อประชากร 100,000 คน (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่) ดังนั้นคนเชียงใหม่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดสูงถึง 2 เท่าของคนในภาคอื่น หากปัญหามลพิษทางอากาศของเมืองเชียงใหม่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผลแล้ว น่าเป็นห่วงว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า จังหวัดเชียงใหม่จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
จากการที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่านอกจากฝุ่นละอองจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพแล้วยังส่งผลกระทบทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างมากในภาคเหนือ ทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนเลี่ยงไปท่องเที่ยวแหล่งอื่น จากการสอบถามธุรกิจโรงแรมใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย และแม่ฮ่องสอน พบว่าธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันโดยเฉพาะในกลุ่มโรงแรมที่ประกอบด้วยชาวต่างประเทศได้รับผลกระทบโดยมีอัตราการยกเลิกห้องพัก เนื่องจากมีความกังกลเกี่ยวกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น การรายงานค่าฝุ่นละอองในอากาศจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยววางแผนในการมาท่องเที่ยว ทำให้โรงแรมหลายโรงแรมเล็งเห็นความสำคัญในการรายงานค่าฝุ่นละอองแบบระบบเรียลไทม์ (Real-time system) เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยว แต่ในปัจจุบันการวัดฝุ่นละอองโดยทั่วไปใช้วิธีการวัดตามระบบกราวิเมตริก (Gravimetric) ซึ่งหมายความว่า การวัดค่าฝุ่นละอองโดยดูดอากาศผ่านแผ่นกรอง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองขนาด 0.3 ไมครอน(Micron) ได้ร้อยละ 99 แล้วหาน้าหนักฝุ่นละอองจากแผ่นกรองนั้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างฝุ่นค่อนข้างนาน ในบางครั้งอาจใช้เวลาทั้งวันหรือหลายวันในการวัด
ทางห้องปฏิบัติการวิจัยฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.ดร. สุภาพ ชูพันธ์ และนายสุวิทย์ วงศ์ศิลา จึงได้มีการพัฒนาตัว Sensor วัดฝุ่นในบรรยากาศที่ใช้หลักการของการวัดอนุภาคโดยใช้แสง Laser สามารถนำมาใช้วัดจำนวนอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศในหน่วยปริมาตร 0.3-10 ไมครอน โดยตัววัดแบบนี้จะส่งสัญญาณที่เป็นแบบ Digital output ออกมา
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ใช้ตัว Sensor วัดฝุ่นในบรรยากาศที่ใช้หลักการของการวัดอนุภาคโดยใช้แสง Laser สามารถนำมาใช้วัดจำนวนอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศในหน่วยปริมาตร 0.3-10 ไมครอน โดยตัววัดแบบนี้จะส่งสัญญาณที่เป็นแบบ Digital output ออกมา เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาโดยระบบสมองกลฝังตัว ซึ่งสามารถพัฒนาได้ง่าย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
น.ส.ณัฐพร สาครวาสี
โทรศัพท์
+66 53-942088 ต่อ 309
โทรศัพท์มือถือ
+66 86-2245466
Email
nuttaporn@step.cmu.ac.th
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Science and Technology Park Chiang Mai University (STeP).
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละออง"
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
กิจกรรม
ขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สอบถามข้อมูล
NSTDA Call Center : 0 2564 8000
อีเมล :
techshow@nstda.or.th
Maintenance by
Digital Mind Co., Ltd.
© Copyright 2016 Thailandtechshow.com All Rights Reserved.