เครื่องกะเทาะและทำความสะอาดถั่วดาวอินคา (A shelling and cleaning machine for the inca peanut) |
นักวิจัย |
|
นักวิจัยหลัก: ผศ.ดร.สุพรรณ ยั่งยืน Email: yagnyyuen@yahoo.com
นักวิจัยร่วม: 1. อ.ดร.เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา
2. อาจารย์บรรลุ เพียชิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
การกะเทาะเมล็ดถั่วดาวอินคาในประเทศไทยยังคงใช้แรงงานคนเป็นหลักโดยใช้ค้อนขนาดเล็ก หรือก้านเหล็กตันทุบ โดยจะทำการทุบเปลือกของฝักถั่วแยกเปลือกนอกกับเปลือกชั้นกลางออกให้ได้เมล็ดน้ำตาลทีละเมล็ด จากนั้นจะนำเมล็ดน้ำตาลทำการทุบเอาเปลือกชั้นในนี้ออกจนได้เมล็ดในสีขาวนวลที่ละเมล็ดเช่นเดียวกัน ซึ่งพบว่าความสามารถในการทำงานต่ำมากประมาณ 15-20 กิโลกรัม(ฝัก)ต่อวันต่อคน และประมาณ 8-10 กิโลกรัม(เมล็ดเดี่ยว)ต่อวันต่อคน จึงทำให้ได้ปริมาณเมล็ดในของถั่วดาวอินคาในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาการทำงานจำเป็นต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากหากต้องการเมล็ดในจำนวนมากเพื่อการแปรรูปเช่นการหีบสกัดเป็นน้ำมัน ปัจจุบันรูปแบบการเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวถั่วดาวอินคาเพื่อจำหน่ายของเกษตรกร จะจำหน่ายถั่วดาวอินคาสองแบบคือ แบบทั้งฝัก และแบบเมล็ดน้ำตาลที่มีราคาแตกต่างกัน โดยรูปแบบเมล็ดน้ำตาลมักเป็นที่นิยมสำหรับผู้แปรรูปในปริมาณมากเพราะจะทำให้ประหยัดเวลาจากการกะเทาะเปลือกนอกและชั้นกลางออกก่อน แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่าขั้นตอนการกะเทาะเมล็ดน้ำตาลเป็นเมล็ดในนั้นยังคงต้องใช้แรงงานคนซึ่งมีความล่าช้าอยู่มาก
จากประเด็นดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์ในครั้งนี้ โดยการประดิษฐ์นี้ มุ่งประดิษฐ์ “เครื่องกะเทาะและทำความสะอาดถั่วดาวอินคา” เพื่อให้สามารถกะเทาะเอาเปลือกชั้นในของเมล็ดน้ำตาลออกให้ได้เมล็ดในสีขาวนวลแล้วคัดแยกและทำความสะอาดเอาสิ่งเจือปนออกจากเมล็ดในให้สะอาดบริสุทธิ์เพื่อนำไปแปรรูปต่อไป
|
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
เครื่องกะเทาะและทำความสะอาดถั่วดาวอินคา ประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือ ส่วนที่หนึ่งชุดกะเทาะเมล็ดน้ำตาลให้เป็นเมล็ดใน และสองชุดคัดแยกและทำความสะอาดเมล็ดในถั่วดาวอินคา ซึ่งจะเป็นชุดเครื่องจักรสำหรับกะเทาะเมล็ดน้ำตาลให้เป็นเมล็ดในสีขาวนวลแล้วคัดแยกและทำความสะอาดเอาสิ่งเจือปนออกจากเมล็ดในให้สะอาดบริสุทธิ์เพื่อนำไปแปรรูปต่อไป |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีต่อรองราคา |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
นายวสิษฐ์ ไชยคำมิ่ง |
โทรศัพท์มือถือ |
095-6690456 |
Email |
wasit.ckm@gmail.com |
ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "เครื่องกะเทาะและทำความสะอาดถั่วดาวอินคา (A shelling and cleaning machine for the inca peanut)"
|
|