ชาสมุนไพรจากผลหม่อน มะเม่าและตะขบป่า
นักวิจัย  
ดร.รัชนี นามมาตย์ และคณะ

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1403000764 ยื่นคำขอวันที่ 4 กรกฎาคม 2557
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นักวิจัยได้ศึกษาวิจัยสรรพคุณของพืชสมุนไพรไทยหลายร้อยชนิด พร้อมทั้งคัดเลือกสมุนไพรชนิดที่มีความเหมาะสมและประสิทธิภาพสูง แต่ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาสมุนไพร” ออกสู่ตลาด โดยได้พัฒนาคิดค้นสูตรตำรับชาสมุนไพรและปรับปรุงกระบวนการผลิตจนได้ชาเบลนด์รูปแบบใหม่ที่มีกลิ่นและรสชาติดีเป็นเอกลักษณ์ สวยทั้งใบแห้งและน้ำชา มีการทดสอบตลาดจนได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญชาจากสมุนไพรไทยนี้มีคุณประโยชน์จากสารออกฤทธิ์สำคัญในสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ โดยมีผลทดสอบยืนยันจากงานวิจัยถึงสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาใช้อย่างชัดเจน ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรที่มีผลหม่อน ผลมะเม่าและตะขบป่า เป็นส่วนประกอบ โดยนำมาผ่านกรรมวิธีการอบแห้งผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม ทำให้ได้เป็นชาที่เป็นการรวมสรรพคุณของสมุนไพรไทยเข้าด้วยกัน เป็นชาผลไม้สีม่วงแดง ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยบำรุงสายตาและอุดมไปด้วยวิตามิน เอ บี ซีและดี อีกด้วย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณอทิตยา โพนทอง
โทรศัพท์ 043-754192, 095-6590642
Email msu_ipmo@hotmail.com
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชาสมุนไพรจากผลหม่อน มะเม่าและตะขบป่า"