กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดไพลที่มีสารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์และสูตรแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดจากไพลที่ใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อฟิล์ม
นักวิจัย  
รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์
นางสาวนิติมา บินดุเหล็ม
นางสาวอาพาภรณ์ แก้วชูทอง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่ 1601007670
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันทั่วโลกมีการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ รวมถึงใช้เป็นยารักษาโรคอย่างแพร่หลาย ประเทศ ไทยนิยมนำไพล (Zingiber cassumunar) มาใช้ในการบรรเทาอาการปวด เคล็ด ขัดยอก โดยมีต ารับยาที่ เตรียมจากนำมันไพลในรูปแบบของครีม อย่างไรก็ตาม ปริมาณตัวยาสำคัญในครีมไพลจะส่งผลต่อคุณภาพการ รักษา กล่าวคือ ถ้ามากไป จะก่อให้เกิดการระคายเคือง แต่ถ้าน้อยไปจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาต่ำลง
แผ่นแปะแก้ปวดนี้พัฒนามาจากสารสกัดไพลที่มีสารสำคัญในกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ (phenylbutanoids) ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อ ด้วยวิธีการสกัดที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม (Green Extraction) และใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อฟิล์ม จึงไม่ก่อให้เกิดอาการ ระคายเคืองแก่ผิวหนัง รวมถึงสามารถควบคุมให้แผ่นแปะมีคุณภาพในการรักษาได้เหมือนกันทุกครั้งที่ผลิต นอกจากนี้ กรรมวิธีการผลิตแผ่นแปะทั้งหมดยังเป็นกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Pharmacy) ช่วยประหยัดพลังงานและลดระยะเวลาการผลิตด้วย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
1.เป็นแผ่นแปะแก้ปวดที่พัฒนามาจากการเตรียมสารสกัดไพลด้วยวิธีการสกัดที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม (Green Extraction)
2.มีการควบคุมปริมาณสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อในสารสกัด ไพล ทำให้แผ่นแปะที่เตรียมได้มีปริมาณสารสำคัญเพียงพอต่อการออกฤทธิ์รักษาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ
3.ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแก่ผิวหนัง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
โทรศัพท์ 074289337
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดไพลที่มีสารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์และสูตรแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดจากไพลที่ใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อฟิล์ม"