ชาสมุนไพรจากตะไคร้ ใบเตย ทองกวาว ใบไผ่และเก็กฮวย
นักวิจัย  
ดร.รัชนี นามมาตย์ และคณะ
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1403000765 ยื่นคำขอวันที่ 4 กรกฎาคม 2557
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
นักวิจัยได้ศึกษาวิจัยสรรพคุณของพืชสมุนไพรไทยหลายร้อยชนิด พร้อมทั้งคัดเลือกสมุนไพรชนิดที่มีความเหมาะสมและประสิทธิภาพสูง แต่ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาสมุนไพร” ออกสู่ตลาด โดยได้พัฒนาคิดค้นสูตรตำรับชาสมุนไพรและปรับปรุงกระบวนการผลิตจนได้ชาเบลนด์รูปแบบใหม่ที่มีกลิ่นและรสชาติดีเป็นเอกลักษณ์ สวยทั้งใบแห้งและน้ำชา มีการทดสอบตลาดจนได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญชาจากสมุนไพรไทยนี้มีคุณประโยชน์จากสารออกฤทธิ์สำคัญในสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ โดยมีผลทดสอบยืนยันจากงานวิจัยถึงสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาใช้อย่างชัดเจน ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยนำเอาประโยชน์ของต้นตะไคร้ ใบเตย ใบข้าว ดอกเก็กฮวย ดอกทองกวาวและดอกอัญชันมารวมกัน โดยผ่านกรรมวิธีจนได้เป็นเครื่องดื่มชาสมุนไพรที่ช่วยขับลม แก้ผมแตกปลาย ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ จากต้นตะไคร้ ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ ฟื้นฟูร่างกาย รักษาภูมิแพ้ อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์(Antioxidant) ที่ช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดมะเร็งสูง และยังเต็มไปด้วยวิตามินเอ บี ซี อี และเค ที่มีประโยชน์กับร่างกาย จากใบเตย และรวมถึงสรรพคุณจากสมุนไพรชนิดอื่นๆอีกมากมาย
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณอทิตยา โพนทอง
โทรศัพท์ 043-754192, 095-6590642
Email msu_ipmo@hotmail.com
หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชาสมุนไพรจากตะไคร้ ใบเตย ทองกวาว ใบไผ่และเก็กฮวย"