ชุดทดสอบแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพารา
นักวิจัย  
ผศ.ดร.ปุริม จารุจำรัส
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603002133 ยื่นคำขอวันที่ 21 ตุลาคม 2559
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
น้ำยางพาราสดจะมีลักษณะเป็นของเหลวหนืดสีขาวโดยซึ่งปกตินั้นน้ำยางจะคงสภาพแขวนลอยอยู่ได้โดยการผลักกันของไอออนลบของคาร์บอกซีเลต (RCOO-)บนผิวน้ำยาง โดยไอออนบวกแมกนีเซียมที่อยู่ในน้ำยางจะเกิดอันตรกิริยากับไอออนลบของคาร์บอกซีเลต ทำให้เสียเสถียรภาพของน้ำยางส่งผลกระทบกับผลิตภัณฑ์เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย เป็นต้น ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และตลาดสินค้าเกษตรจึงได้กำหนดปริมาณไอออนแมกนีเซียมในน้ำยางธรรมชาติก่อนนำไปผลิตเป็นน้ำยางข้นให้มีค่าน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm) เพื่อให้ได้น้ำยางมีคุณภาพตรงตามข้อกำหนด ปัจจุบันการวิเคราะห์หาปริมาณแมกนีเซียมในน้ำยางสดมีวิธีที่ซับซ้อนอีกทั้งผู้วิเคราะห์ต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญรวมทั้งต้องทำในห้องปฎิบัติการเท่านั้น
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ชุดทดสอบภาคสนามสำหรับวิเคราะห์ปริมาณแมกนีเซียมในน้ำยางที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถอ่านค่าได้ด้วยตาเปล่าซึ่งมีความง่าย (ผู้ใช้ไม่ต้องมีทักษะในการวิเคราะห์) รวดเร็ว (ภายใน 1 นาที) ไม่ต้องมีการเตรียมตัวอย่าง และใช้ปริมาณตัวอย่างน้อย
•เหมาะกับการใช้งานในภาคสนาม สะดวกในการพกพา ใช้งานง่าย
•ให้ผลการวิเคราะห์เชิงกึ่งปริมาณที่มีความถูกต้องแม่นยำ ใช้สารเคมีและตัวอย่างเพียงเล็กน้อยจึงทำให้มีปริมาณของเสียน้อยมากเมื่อเทียบกับวิธีมาตราฐาน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
คุณณัฐนันท์ นันทะแสน
โทรศัพท์มือถือ 09 0287 5363
Email nattanan.n@ubu.ac.th
สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดทดสอบแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพารา"