กรรมวิธีการผสมอนุภาคยางนาโนในโพลิเอสเตอร์เรซิ่น หรืออิพ็อกซี่เรซิ่น หรือตัวทำแข็ง
นักวิจัย  
ดร.จริยาวดี ศิริจันทรา และคณะนักวิจัย
กลุ่มวัสดุขั้นสูงและเซรามิกสมัยใหม่ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
อนุภาคยางนาโนคือ วัสดุยางสังเคราะห์ประเภทหนึ่งจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีอนุภาคขนาดเล็กในระดับนาโนอยู่ในช่วงประมาณ 10-500 nm ปริมาณการใช้วัสดุนาโนผสมลงใน
เทอร์โมพลาสติกและเทอร์โมเซตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุคอมโพสิตต้องการปรับปรุงคุณภาพทางกายภาพและเชิงกลของผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดความพยายามที่จะใช้อนุภาคยางนาโนผสมลงในโพลิเอสเตอร์เรซิ่น หรืออิพ็อกซี่เรซิ่น หรือตัวทำแข็งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อนำเรซิ่นผสมอนุภาคยางนาโนไปใช้ผลิตกับวัสดุใยแก้ว ใยคาร์บอน และใยเสริมแรงทั่วไป ได้แผ่นวัสดุคอมโพสิตที่มีสมบัติทางกายภาพและเชิงกลตามมาตรฐานที่ต้องการ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
กรรมวิธีนี้คือการนำโพลิเอสเตอร์เรซิ่น (Polyester resin) หรืออิพ็อกซี่เรซิ่น (Epoxy resin) หรือตัวทำแข็ง (Hardener) ผสมด้วยอนุภาคยางนาโน นำมาผสมและทำให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค เพื่อนำไปใช้ในการผลิตขึ้นรูปกับใยแก้ว ใยคาร์บอน และเส้นใยเสริมแรงทั่วไป ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนเหมาะสมกับผู้ประกอบการไทยที่สามารถผลิตใช้เอง และการลงทุนไม่สูง สามารถนำไปใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรรมผลิตเรือหรือพาหนะทางน้ำ ที่ต้องการความแข็งแรงและทนทานต่อสภาวะแวดล้อมจากการใช้งานทางน้ำ และอุตสาหกรรมผลิตแผ่นรองหลังฉุกเฉินทางน้ำ เป็นต้น
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ดร.จริยาวดี ศิริจันทรา
โทรศัพท์ 02 201 7163
โทรศัพท์มือถือ -
Email auisurrey@hotmail.com
กลุ่มวัสดุขั้นสูงและเซรามิกสมัยใหม่ กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กรรมวิธีการผสมอนุภาคยางนาโนในโพลิเอสเตอร์เรซิ่น หรืออิพ็อกซี่เรซิ่น หรือตัวทำแข็ง"