![]() |
||||||
นักวิจัย
นางวรุณทิพย์ ฉัตรจุฑามณี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น |
||||||
สถานภาพสิทธิบัตร
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9609
|
||||||
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
สำหรับการย้อมสีธรรมชาติในเชิงพาณิชย์เป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก เนื่องจากกระบวนการสกัดสีย้อมต้องเสียเวลาในการต้มน้ำสีจากพืชเป็นเวลานาน พืชบางชนิดต้องเสียเวลาในการหมักหลายวัน ทำให้การผลิตผ้าไหมในเชิงพาณิชย์ได้น้อยไม่ต่อความต้องการของลูกค้า อีกทั้งสีที่สกัดได้ในแต่ละครั้งไม่เหมือนเดิม ดังนั้นการนำเอาสีที่ได้จากพืชมาสกัดแล้วทำเป็นผงสีย้อมธรรมชาติ จึงช่วยทำให้สะดวกต่อผู้ที่นำมาใช้ และสามารถควบคุมความเข้มของสีได้ดี รวมทั้งได้สีที่เหมือนเดิมทุกครั้งที่ทำการย้อม
|
||||||
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
คุณสมบัติของสิ่งประดิษฐ์ เป็นผงสีต่างๆตามชนิดของวัตถุดิบที่ได้จากส่วนต่างๆของพืชแต่ละชนิด
เช่น ผงสีน้ำตาลแดง จากเปลือกประดู่ ผงสีแดงอมส้มจากกิ่งฝาง หรือผงสีแดงอมชมพูจากกิ่งฝางอ่อนๆ ผงสีเหลืองจากหัวขมิ้น ได้สีที่เหมือนเดิมทุกครั้งที่ทำการย้อม คุณลักษณะเฉพาะของสิ่งประดิษฐ์ เป็นผงสีละลายได้ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ขอบเขตการใช้งานของผลงานสิ่งประดิษฐ์ ใช้เป็นสีย้อมเส้นไหม เส้นฝ้าย และกก (ถือได้ว่าเป็นสีย้อมธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จุดเด่น คือการนำเอาสีที่ได้จากพืชมาสกัดทำเป็นผงสีธรรมชาติ ตามกรรมวิธีการระเหยน้ำออกโดยใช้ความร้อนและอบในตู้อบความร้อน ดังกล่าวนี้ยังไม่มีผู้ใดทำ ที่พบว่ามีผู้ทำบ้างแล้วจะเป็นเทคนิคการใช้เครื่องระเหยสุญญากาศ และเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย (spray dryer) วิธีการที่ประดิษฐ์นี้ช่วยให้ได้ผงสีย้อมธรรมชาติที่สะดวกต่อผู้ใช้ และสามารถควบคุมความเข้มของสีได้ดี และได้สีที่เหมือนเดิมทุกครั้งที่ทำการย้อม ผงสีย้อมธรรมชาติสามารถกระจายตัวได้ดีในน้ำร้อน สามารถนำเส้นใยไหม ฝ้าย และกกย้อมได้ทันที เป็นการย้อมแบบโดยตรง (Direct dyes) |
||||||
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
|
||||||
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบระดับ pilot scale
|
||||||
![]() |
||||||
เงื่อนไข
เทคโนโลยีราคาเดียว
|
||||||
สนใจสอบถามข้อมูล
สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน | |
|||||
|