กระบวนการผลิตสารโมนาโคลิน เค (สารลดคอเลสเตอรอล) จากราโมนาคัสที่เลี้ยงบนข้าว
นักวิจัย  
ศ.ดร.สายสมร ลำยอง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1603001409 ยื่นคำขอวันที่ 10 สิงหาคม 2559
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ข้าวราแดง เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวหมักด้วยเชื้อราโมแนสคัส เพอร์พิวเรียส (Monascus purpureus) ซึ่งเป็นเชื้อราสร้างรงควัตถุสีแดงทำให้ข้าวที่หมักได้มีสีแดงเข้ม นิยมนำมาปรุงยาเพื่อทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ในกลุ่มโมนาโคลิน เค (monacolin K) หรือ โลวาสแตติน (lovastatin) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับยาในกลุ่มสแตติน (statin) ที่ทางการแพทย์ใช้ในการรักษากลุ่มอาการความดันโลหิตสูงและระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งสารดังกล่าวนี้มีผลยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคลอเลสเตอรอลภายในร่างกาย (HMG CoA reductase) ลดลง
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
- สารโมนาโคลิน เค ที่ผลิตได้มีความปลอดภัยตามเกณฑ์ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผลจากการนำข้าวราแดงไปผสมในอาหารเลี้ยงนกกระทาญี่ปุ่นพบว่ากลุ่มที่เสริมสารสกัดข้าวราแดงที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1 mg ต่อวันขึ้นไป สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในไข่แดงได้
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
นางสาวมณฑิรา แก้วดี
โทรศัพท์ 0 2579 7435 ต่อ 3309
โทรศัพท์มือถือ 09 7978 6881
Email montira@arda.or.th
สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "กระบวนการผลิตสารโมนาโคลิน เค (สารลดคอเลสเตอรอล) จากราโมนาคัสที่เลี้ยงบนข้าว"