ระบบตรวจจับการกรนที่สัมพันธ์กับท่าทางการนอน
นักวิจัย  
นายธนัชชัย สีใส ดร.สุดาสวรรค์ งามมงคลวงศ์ และ อ. เชาวลิต จันภิรมย์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
 
สถานภาพสิทธิบัตร
อยู่ระหว่างยื่นคำขอ
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
การกรนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ การกรนแบบไม่เป็นอันตราย และการกรนแบบอันตรายหรือมีการหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการหยุดหายใจขณะหลับขณะนอนหงายการบรรเทาอาการสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนท่าทางการนอนให้เป็นการนอนตะแคง ซึ่งส่งผลให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นเสียงกรนลดลงและลดอัตราการหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ โดยเสียงกรนเกิดจากอากาศที่เคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลงซึ่งมักจะเกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายในส่วนบนขณะนอนหลับ เช่น กล้ามเนื้อบริเวณเพดานอ่อน, ลิ้นไก่, ผนังคอหอย หรือโคนลิ้น เป็นผลให้เกิดการสั่นสะเทือนและสะบัดของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนในบริเวณดังกล่าวเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น โดยความถี่ของเสียงกรนปกติจะอยู่ที่ประมาณ 110-190 Hz งานวิจัยนี้ได้ทำการตรวจจับเสียงกรนกับท่าทางการนอนเพื่อนนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงกรนกับท่าทางการนอน โดยตัวระบบสามารถตัดสัญญาณรบกวนใน ขณะนอนหลับได้ และมีความแม่นยำ 85% จากการทดสอบการจำลองเสียงกรนและเสียงสัญญาณรบกวน 2 ชนิด
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
ทำการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การหยุดหายใจชั่วขณะในการนอนหลับ เพราะเกิดจากการนอนกรน รวมถึงการวิเคราะห์ความถี่ของเสียงกรนที่ได้รับ และนำไปแสดงผลเป็นกราฟ ระบบจะตรวจจับความถี่เสียง ในย่านความถี่ 150 – 195 Hz และมาประมวลผล โดยทำการตัดเสียงในย่านความถี่อื่นออก และจะแสดงผลความถี่ 150 – 195 Hz [5] ในตัวแปล 1 แต่ถ้าเป็นย่านความถี่อื่น ระบบจะทำการใส่ตัวแปลเป็น 0 เพื่อนในไปวิเคราะห์ และรับค่าการเอียงตัว เป็นเป็นตารางต่าง ๆ โดยมี Snor Supine Left Righ Pron Sit/Stand และ จะเก็บค่างลงในแถวต่าง ๆ ให้เป็น 0 หากในช่องนั้นว่าง และ 1 เมื่อ มีค่าในตาราง และทำการเก็บค่า จากโมดูลเวลา และทำการบันทึกค่าต่าง ๆ ลง SD Card ผ่านโมดูล ทุก 0.5 วินาที เพื่อนเป็นตัวเปรียบเทียบ ในการวิเคราะห์ข้อมูล การทดลองประสิทธิภาพของเครื่องระบบตรวจจับการกรนที่สัมพันธ์กับท่าทางการนอน ด้วยการทดลองการกรน โดยจำลองเสียงขึ้นมาจาก YouTube การทดลองแบบออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่
1. การทดลองเสียงกรน โดยไม่มีเสียงรบกวน
2.ผู้ป่วยนอนกรนและมีการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เสียงกรนไม่เป็น harmonic pattern เสียงกรนมีความถี่ต่ำ (< 150)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ได้ต้นแบบในระดับห้องปฏิบัติการ
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
อ. เชาวลิต จันภิรมย์
โทรศัพท์ 02-744-7356 ต่อ 248
โทรศัพท์มือถือ 0951635593
Email vodsaka@gmail.com, chaovarit@souteast.ac.th
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ระบบตรวจจับการกรนที่สัมพันธ์กับท่าทางการนอน"