อุปกรณ์กำเนิดบิตสุ่มเพื่อเข้ารหัสข้อมูลด้วยทฤษฎีโกลาหล(A Random Bit Generator Hardware for Cryptography Using Chaos Theory)
นักวิจัย  
ผศ.ดร.วิมล แสนอุ้ม
จ่าอากาศเอก ดร.คุณานนต์ กิตติพุฒิ
ศูนย์ความเชี่ยวชาญการบูรณาการระบบอัจฉริยะ (CoE-ISI)
 
สถานภาพสิทธิบัตร
องค์ความรู้
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร การรับส่ง และการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในหน่วยเก็บความจำ (Storage) ทั้งชนิดส่วนตัวในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพาต่างๆ และชนิดการจัดเก็บบนฐานข้อมูลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เป็นเทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบันที่เริ่มใช้ในองค์กรต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เก็บในหน่วยเก็บความจำดังกล่าว มีความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ทั้งการรักษาความลับ (Secret) และความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของข้อมูลน้อยลง และมักจะถูกโจมตีจากบุคคลที่ไม่ประสงค์ดี
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้เห็นความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ จึงได้ดำเนินการค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาการรหัสลับมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการประยุกต์เอาระบบพลวัตอลวนหรือทฤษฏีเคออส ซึ่งเป็นระบบที่มีสามารถสร้างสัญญาณสุ่มที่ซับซ้อนอย่างสูงยิ่งมาใช้ร่วมกับวิทยาการรหัสลับ ซึ่งมีผลงานวิจัยด้านขั้นตอนวิธีของวิทยาการรหัสลับ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เป็นที่ยอมรับโดยผ่านการทดสอบมาตรฐาน NIST เรียบร้อยแล้ว โดยผลการทดลองของลำดับบิตสุ่มแบบดิจิทัลได้รับการดำเนินการโดยใช้ Arduino ที่มีประสิทธิภาพกับ Atmel SAM3X8E ARM Cortex-M3 CPU ให้เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในซีพียูแบบกะทัดรัดและมีประสิทธิภาพสำหรับแอพพลิเคชันในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลคอมพิวเตอร์
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้ร่วมวิจัยพัฒนา
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ผศ.ดร.วิมล แสนอุ้ม
โทรศัพท์ 02-7632600 ต่อ 2926
โทรศัพท์มือถือ 091-5180151 , 065-4919389
Email wimol@tni.ac.th
ศูนย์ความเชี่ยวชาญการบูรณาการระบบอัจฉริยะ (CoE-ISI)

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "อุปกรณ์กำเนิดบิตสุ่มเพื่อเข้ารหัสข้อมูลด้วยทฤษฎีโกลาหล(A Random Bit Generator Hardware for Cryptography Using Chaos Theory)"