หุ่นยนต์ตรวจวินิจฉัยการรับรู้ความรู้สึกปลายประสาทโดยใช้เส้นใยโมโนฟิลาเมนท์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
นักวิจัย  
ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
 
สถานภาพสิทธิบัตร
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 0901000329 ยื่นคำขอวันที่ 28 มกราคม 2552
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ในบรรดาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานนั้น อาการของโรคเบาหวานที่มีผลต่อระบบประสาทเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ตรวจพบได้มาก ประมาณ 2/3 ของผู้ป่วยเบาหวาน คือ ผู้เป็นเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และมีโอกาสที่จะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้จะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือภาวะปลายประสาทเสื่อม ยังส่งผลให้ผู้ป่วยเสียความรู้สึกบริเวณมือ หรือ เท้า นำไปสู่การเกิดแผลติดเชื้อเรื้อรังจนต้องตัดแขน ขา โดยปกติแพทย์จะเป็นผู้ตรวจสอบประสาทการรับรู้ของผู้ป่วยโดยใช้ เส้นใยโมโนฟิลาเมนต์ในการตรวจสอบ
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
เครื่องตรวจการรับรู้ความรู้สึกโดยใช้ Monofilament สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนี้ จะเป็นเครื่องมือที่สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์ในการทดสอบได้ โดยเครื่องมือนี้จะช่วยให้แพทย์ไม่ต้องลงมือกดเส้นเอ็นเอง และตัวผู้ป่วยเองนั้นเพียงนั่งวางเท้าข้างที่จะตรวจลงบนเครื่องทดสอบเท่านั้น อุปกรณ์นี้สามารถขจัดความยุ่งยากและข้อจำกัดในขั้นตอนการตรวจวินิฉัยภาวะปลายประสาทเสื่อม เพิ่มความแม่นยำในการทดสอบ แปลผลด้วยซอฟแวร์ จึงสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็ว อีกทั้งแพทย์ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลการตรวจของผู้ป่วยที่ได้จากเครื่องนี้ได้ แม้แพทย์จะอยู่ในที่ห่างไกล (Telemedicine)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการได้ถูกทดสอบในสภาวะจำลอง
เงื่อนไข
เทคโนโลยีต่อรองราคา
สนใจสอบถามข้อมูล
ปรีชภาวรรณ ไตรพรยุวสิน
โทรศัพท์ 02-849-6056
Email preechapawan.tri@mahidol.ac.th
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "หุ่นยนต์ตรวจวินิจฉัยการรับรู้ความรู้สึกปลายประสาทโดยใช้เส้นใยโมโนฟิลาเมนท์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน"