ชุดอุปกรณ์ดูดเสมหะสำหรับเด็ก (MU-Sucker) |
นักวิจัย |
|
อาจารย์จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
สถานภาพสิทธิบัตร |
สิทธิบัตร เลขที่ 46966 |
|
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา |
อุตสาหกรรมทางด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด โดยอุตสาหกรรมนี้มีทั้งที่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดใหญ่ที่ทันสมัย มีต้นทุนมูลค่าสูง ซึ่งยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าจากต่างประเทศ และอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ ในกรณีนี้ เวชภัณฑ์ดูดเสมหะสำหรับเด็ก (MU-Sucker) เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อนำมาใช้ต่อกับเครื่องดูด (suction machine) เพื่อทำการดูดเสมหะในลำคอผู้ป่วยเด็ก ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ป่วยเด็กจำนวนมากที่ต้องได้รับการดูดเสมหะ วิธีการดูดเสมหะโดยใช้เครื่องดูด เป็นวิธีการสำคัญที่ใช้ในการบำบัดผู้ป่วยเด็กที่มีเสมหะคั่งค้างในปอด และไม่สามารถไอเอาเสมหะออกได้ ซึ่งจะพบผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ได้ทั้งในระยะเฉียบพลัน เรื้อรัง ซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สถานพยาบาล และที่บ้าน เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง หายใจสบาย ปอดสะอาด ลดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะขาดออกซิเจนจากการอุดกั้นของเสมหะในทางเดินหายใจ การติดเชื้อในปอด และภาวะปอดแฟบ เป็นต้น ผู้ป่วยเด็กจึงหายป่วยเร็วขึ้น |
|
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี |
การประดิษฐ์นี้เป็นอุปกรณ์สำหรับดูดเสมหะสำหรับเด็กเป็นการฉีดวัสดุโพลิเมอร์ขึ้นรูปที่มีความยืดหยุ่น ใส เนื่องจากวิธีการดูดเสมหะที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะใช้สายดูดเสมหะต่อกับเครื่องดูดเนื่องจากสายดูดมีความยาวมากเกินไปคือยาวประมาณ 50 ซม. ทำให้การดูดมีความยุ่งยาก เมื่อสอดสายดูดเข้าไปในปากสายมักจะพับงอ อีกทั้งต้องคอยประมาณระยะความลึกของสาย เนื่องจากสายที่สอดเข้าตื้นหรือลึกเกินไป ทำให้การดูดไม่มีประสิทธิภาพ ต้องใช้เวลาในการดูดนาน และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือบาดเจ็บแก่ผู้ป่วยเด็กได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติงานเนื่องจากต้องใช้มือทั้งสองข้างจับสายดูด พร้อมกับการจับศีรษะเด็กให้อยู่นิ่งโดยเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อลดการบาดเจ็บจากการที่เด็กดิ้น และ ช่วยป้องกันการสำลัก ต้องสวมถุงมือในขณะดูดเสมหะเนื่องจากมือที่จับสายจะเกิดการปนเปื้อนเสมหะได้ง่าย เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการแพร่กระจายเชื้อ อีกทั้งไม่สามารถนำสายดูดเสมหะกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากทำความสะอาดยาก ทำให้ต้นทุนในการรักษาสูง และเพิ่มปริมาณขยะ |
|
ความร่วมมือที่เสาะหา |
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ |
|
สถานภาพของผลงานวิจัย |
ต้นแบบระดับ pilot scale ได้ถูกทดสอบในสภาวะทำงานจริง |
|
|
เงื่อนไข |
เทคโนโลยีราคาเดียว |
|
สนใจสอบถามข้อมูล |
ปรีชภาวรรณ ไตรพรยุวสิน |
Email |
preechapawan.tri@mahidol.ac.th |
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม | |
|
คุณต้องการขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยี "ชุดอุปกรณ์ดูดเสมหะสำหรับเด็ก (MU-Sucker)"
|
|